“ดื่มปัสสาวะรักษาโรคได้. จริงหรือ?
ตอบ: ไม่จริง เพราะสารต่าง ๆ ที่ร่งกายขับออกมาทางปัสสาวะเกือบทั้งหมด เป็นสารของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญของร่างกาย และร่างกายไม่ต้องการใช้ ถ้าคั่งค้างในร่างกายจะเกิดผลเสียได้
ส่วนประกอบในปัสสาวะมี 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
- กลุ่มสารหรือของเสียที่ร่างกายกำจัดออก (Metabolic waste) ที่เกิดจากการสันดาปของร่างกาย ได้แก่ ยูรีย จากกรเผาผลาญโปรตีนและกรดอะมิโน กรดยูริค (Urc acid) จากการสลายสารอาหารกลุ่มพิวรีน สารประกอบดิโตน (Ketone compounds) จากการสลายไขมัน
- ยาหรืออนุพันธ์ของยาที่รับประทานเข้าไป
- เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อนออกมา
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มปัสสาวะตนเอง
- ปัสสาวะมีความเป็นกรด (มีค pH ประมาณ 5 – 6.5) หากดื่มในขณะท้องว่าง อาจทำให้เกิดผลสียต่อเยื่อบุผนังลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารได้
- มีโอกาสได้รับสารอนุพันธ์ของตัวยา (ที่ร่งกายพยายามขจัดออกทางปัสสาวะ) กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เพิ่มความเสี่ยงของการสะสมยาในร่างกายมากเกินไป
- มีความเสี่ยงของเชื้อโรคที่อาจปะปนมากับปัสสาวะ หรือ เกิดจากการจัดก็บปัสสาวะไม่ดี หรือ เก็บไว้เป็นระยะวลานานเกินไป
ประโยชน์อาจพบได้บ้างในปัสสาวะ คือ ฮอร์โมนบางประเภท เช่น urokinase ที่มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือดได้ แต่ก็เป็นปริมาณที่น้อยมาก
การดื่มน้ำปัสสวะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี ที่สำคัญคือ ทำให้มีการสะสมของเสีย (ซึ่งร่างกายต้องการขจัดทิ้งไปแล้ว) กลับเข้าไปหมุนเวียนเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งหนึ่ง จึงไม่แนะนำให้ปฏิบัติ
ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน 2562
ที่มา : ศ. กิตติคุณ นพ.เกรียง ตั้งสง่า