การดูแลผิวหนังบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี
- ควรสวมสื้อหลวม ๆ นุ่ม ๆ ที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เพื่อลดการเสียดสี
- ควรตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการแกะเกา
- อาจใช้โลชั่นบำรุงให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว เพื่อลดอาการแห้งตึงและคัน
- ทาโลชั่นในบริเวณที่รับรังสีวันละ 2-3 ครั้ง หรือบ่อยกว่านั้น
- ควรหลีกเลี่ยงการทาในช่วง 4 ชั่วโมง ก่อนรับรังสี
- ในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรงแพทย์จะพิจารณายาทา เพื่อลดการติดเชื้อและเพิ่มการลงทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือ
- ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี ควรล้างด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำสบู่ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และควรใช้ผ้าเช็ดตัวที่อ่อนนุ่มรับบริเวณที่ฉายรังสี
- ควรสวมหมวกหลวม ๆ หรือกางร่ม หากต้องออกนอกอาคาร
- ห้ามถู แกะ เกา ผิวหนังที่อาจมีสีแดง แห้งตึง และทำให้คัน คำคล้ำ และตกสะเก็ด
- หลีกเลี่ยงการขัดถู และการใช้น้ำฝักบัวที่มีแรงดันน้ำที่แรงในการอาบน้ำ
- หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัด หรือการสัมผัสบริเวณที่ตายรังสีโดยตรงกับความร้อนหรือความเย็น
- ห้ามวางกระเป๋าน้ำร้อน น้ำแข็ง บริเวณที่ฉายรังสี
- ห้ามปิดพลาสเตอร์ ทายาหม่อง บริเวณที่ฉายรังสี
- ห้ามลบเส้นบริเวณที่ฉายรังสีที่แพทย์ขีดไว้ และไม่ขีดเส้นที่ลบเลือนด้วยตัวเอง
- ไม่ควรว่ายน้ำในสระที่มีคลอรีน เพราะจะทำให้ผิวแห้ง
- หากเกิดอาการคัน ห้ามทาแป้งฝุ่น เพราะแป้งฝุ่นผสมด้วยโลหะหนัก ทำให้ระคายคือง ผิวดำคล้ำมากขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์
ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562
ที่มา : อ.พญ.ดนิตา กานต์นฤนิมิต