กลุ่มอาการครูซอง

กลุ่มอาการครูซอง

กลุ่มอาการครูซอง (Crouzon synrome) เป็นความพิการที่เกิดจากการมีรอยประสานของกะโหลกศีรษะและใบหน้าหลายตำแหม่งเชื่อมติดกันผิดปกติ โดยเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และต่อเนื่องจนคลอดออกมา

🗣 สาเหตุของโรค
มักเกิดจกการกลายพันธุ์ของยีนบางยีน ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีโอกาสถ่ายทอดสู่ลูกถึงร้อยละ 50

🗣 อาการของโรค

  • กะโหลกศีรษะผิดรูปร่าง และไม่สามารถขยายขนาดทำให้สมองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 2-3 ขวบ ไม่สามารถขยายตัวได้
  • กระดูกเบ้าตาเชื่อมติดกัน และมีขนาดเล็ก กระบอกตาไม่สามารถขยายตามลูกตาที่โตขึ้นได้ ตาจึงโปนออกมาทางด้านหน้า
  • ใบหน้าส่วนกลางไม่เจริญเติบโต ทำให้ดูเว้าแบน สังแกตจากฟันบนอยู่หลังต่อฟันล่าง ทำให้โพรงจมูกล็ก หายใจลำบาก และขาดออกซิเจน

🗣 การรักษา
ผู้ป่วยควรรับการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพแต่เนิ่น ๆ อย่างต่อเนื่อง มีการผ่าตัดที่ต้องทำหลายครั้ง เช่น การผ่าตัดเพื่อขยายกะโหลกศีรษะและกระบอกตา ซึ่งควรทำก่อนอายุ 1 ขวบ เพื่อให้สมองแลกระบอกตามีพื้นที่นการขยายตัวและเจริญเติบโต การขยายและเลื่อนกระดูกใบหน้า เพื่อให้การหายใจและการสบฟันดีขึ้น

ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563
ที่มา : รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์