ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมเพื่อป้องกันโรคโควิด-19

ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมเพื่อป้องกันโรคโควิด-19
  • ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันเชื้ออย่างเคร่งครัด
    • ล้างมือสม่ำเสมอ
    • กินร้อน ใช้ช้อนส่วนตัว
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสที่ใบหน้า
    • สวมหน้ากากอนามัย
    • ไอ จามโดยใช้กระดาษทิชชูหรือสอนท่าไอที่ปลอดภัย
    • รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล
  • อาจมีการทำบันทึก หรือป้ายเตือนความจำติดบริเวณบ้านเพื่อเตือนผู้ป่วยสมองเสื่อมที่อยู่ในระยะอาการไม่รุนแรงให้ระวังการติดเชื้อในช่วงที่มีการระบาด
  • หลีกเลี่ยงการพาผู้ป่วยออกนอกบ้านหรือไปในที่ชุมชนโดยไม่ป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการให้ญาติหรือเพื่อนที่มีความเสี่ยง หรือมีไข้ ไม่สบายมาเยี่ยมที่บ้าน เลือกใช้วิธีติดต่อผ่านโทรศัพท์หรือวิดีโอคอล และมีการจดบันทึกบุคคลที่มาสัมผัสผู้ป่วยเพื่อการตรวจสอบในกายหลังหากพบการติดเชื้อ
  • ควรมีการกำหนดระยะวลาในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 1-2 ครั้ง/วัน และเลือกรับข้อมูลจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ
  • ใช้สื่อโซซียลมีเดียในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 เพื่อทำกิจกรรมกระตุ้นสมองหรือสร้างความผ่อนคลายได้ตามปกติ

ภาวะสมองเสื่อมไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 แต่ปัจจัยอื่นที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อม เช่น การมีอายุมาก ปัญหาพฤติกรรมจากภาวะสมองเสื่อม และการมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสียชีวิต จึงควรดูแลเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ

ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2563

ที่มา : รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย