สูงวัยก็ใจบางได้นะทำความรู้จัก “ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ”

สูงวัยก็ใจบางได้นะทำความรู้จัก “ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ”

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่ลูกหลานหรือผู้ดูแล ควรให้ความสนใจ ใส่ใจ และสังเกต เพราะเมื่อสูงวัยขึ้น สุขภาพร่างกายเสื่อมถอยลง ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น ก็อาจส่งผลต่อสภาพอารมณ์และสุขภาพจิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สังเกตสัญญาณภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

  1. หงุดหงิดง่าย รู้สึกเศร้าหรือไร้ค่า
  2. เบื่อหน่าย ไม่อยากออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรือกิจกรรมที่เคยชอบ
    ทำอะไรก็ไม่มีความสุข
  3. พูดคุยกับคนรอบข้างลดลง
  4. มีอาการไม่สบายทางร่างกายหลายอย่างที่ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติรุนแรง
  5. เบื่ออาหาร รับประทานได้น้อยลง
  6. นอนไม่หลับ
  7. ร้องไห้ง่าย
  8. มีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่

หากสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุมีอาการข้างต้นมากกว่า 2 สัปดาห์ ลูกหลาน ญาติ หรือผู้ดูแลควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถึงสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นเพื่อหาทางรับมือที่เหมาะสม พร้อมปรับพฤติกรรมเพื่อดูแลผู้สูงอายุได้ทั้งกายและใจ 

  • พาไปร่วมกิจกรรมหรือพบปะเพื่อน
    สมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
  • กระตุ้นให้ออกกำลังกาย 
  • จัดสรรโภชนาการให้เหมาะสม 
  • ดูแลให้รับประทานยาและพบแพทย์ตามนัดหมาย 

การดูแลผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม แต่เว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงขึ้นได้ 

ข้อมูลโดย  อ.นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล
ฝ่ายจิตเวชผู้สูงอายุ
ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2566