การดื่มสุรากับโรคโควิด-19
การดื่มสุรากับโอกาสติดโควิด-19
การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม โดยเฉพา:โรคโควิด-19 รวมถึงเพิ่มโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนจากโรคปอดอักเสบ หรือโรคปอดบวม เนื่องจาก
- สุราทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยลดลง เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เชื้อโรคโควิด-19 ลงปอดเพิ่มสูงขึ้น
- สุราทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ อ่อนกำลังลง เมื่อเชื้อโรคโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย จึงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- สุราทำให้ความยับยั้งชั่งใจน้อยลง อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงในช่วงเมาสุราได้ เช่น ดื่มเหล้า-รับประทานข้าววงเดียวกัน ไม่สวมหน้ากากอนามัย และไม่รักษาระยะห่าง
การดื่มสุรากับวัคซีนโควิด-19
ควรงดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งก่อนและหลังได้รับวัคซีนโควิด-19
ผู้ที่ติดสุราเมืองดดื่มแอลกอฮอล์แล้ว อาจมีอาการมือสั่น ใจสั่น เหงื่อออกควรค่อย ๆ ลดการดื่มสุราลงภายใน 1-2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับวัคซีนโควิด-19 หรือควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับยาลดอาการถอนสุรา
ผู้ที่ติดสุราหากหยุดดื่มทันทีอาจมีอาการถอนสุรา เช่น มือสั่น ใจสั่น บางรายอาจมีอาการชักเกร็งกระตุกที่จุดฉีดวัคซีน ทำให้ไม่สามารถเข้ารับวัคซีนตามที่ต้องการได้
ข้อมูล ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2564
ที่มา : ผศ. นพ.ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร