ดึงดั้งแต่เด็กทำให้จมูกโด่งจริงหรือ
การดึงจมูกหรือดั้งของเด็ก เกิดจากความเชื่อว่าจะทำให้เด็กมีจมูกที่โด่ง ยาว เป็นสันสวยงามแต่เป็นความเชื่อที่ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันได้ว่ามีส่วนช่วยทำให้เด็กจมูกโด่งขึ้น
ส่วนประกอบที่ทำให้จมูกโด่ง
- กระดูกแข็ง (Nasal Bone) ในเด็กผู้หญิงจะเจริญเติบโตถึงอายุ 16 ปีและในเด็กผู้ชายถึงอายุ 18 ปี โดยเป็นกระดูกส่วนที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้ดั้งหัก
- กระดูกอ่อน (Nasal Septum) ของเด็กจะเจริญเติบโตมากตั้งแต่อายุขวบปีแรกถึง 20 ปี
- กรรมพันธุ์จากพ่อแม่ ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรมเด่นในแต่ละบุคคล
ผลเสียจากการดึงจมูกเด็ก
- เด็กเกิดความรำคาญ
- อาการบวมแดงบริเวณจมูก
- แผลถลอกหรือผิวหนังอักเสบ
- บริเวณจมูก หากใช้ไม้หนีบ
ทั้งนี้แม้ว่าการดึงจมูกมักไม่ส่งผล
หรือเกิดผลกระทบรุนแรงใด ๆต่อเด็ก แต่ไม่ควรดึงจมูกอย่างรุนแรงเพราะอาจเกิดอันตรายกับเยื่อบุโพรงจมูกและผิวหนังบริเวณจมูกของเด็กได้
คำแนะนำจากแพทย์
ผู้ปกครองควรใส่ใจเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับจมูกของเด็ก เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ซึ่งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ได้ถึงร้อยละ 50 โดยสังเกตได้จากอาการน้ำมูกใหลบ่อย ๆ คัดจมูก หรือโรคอื่น ๆ เช่น นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ หรือภาวะสิ่งแปลกปลอมในโพรงจมูก จมูกอาจมีกลิ่นเหม็น ภาวะที่จมูกโตผิดปกติ อาจมีเนื้องอกดันขึ้นมา หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์
ข้อมูล ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2564
ที่มา : อ. นพ.กฤษฎา โกวิทวิบูล