ปกปิดข้อมูลช่วงโควิด-19 ระบาดส่งผลเสียกว่าที่คิด
การแจ้งข้อมูลตามจริงอย่างครบถ้วน ช่วยให้รักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญเป็นการลดความเสี่ยงให้กับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
การปกปิดข้อมูล ส่งผลเสียต่อทุกฝ่าย
- เสี่ยงต่อตัวผู้ป่วยเอง การที่ผู้ป่วยปกปิดข้อมูล ทางแพทย์ผู้รักษาและพยาบาลจะให้การดูแลหมือนผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจ เนื่องจากผู้ป่วยโควิด- 19 มีอคารคล้ายไข้หวัดทั่วไป หรือคล้ายโรคติดเชื้ออื่น ๆ การรักษาโควิด-19 มียาเฉพาะที่ไม่ได้ให้กับผู้ป่วยไข้หวัดทั่ไป ทำให้สียโอกาสในการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
- เสี่ยงต่อญาติผู้ป่วย จากข้อมูลที่ผ่านมา ผู้ป่วยติดเชื้อจากสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากอยู่บ้านเดียวกัน มีการทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด หากวินิจฉัยได้ล่ช้ อาจทำให้มีการแพร่กระจายต่อบุคคลอื่น ๆ เป็นวงกว้าง
- เสี่ยงต่อบุคลากรในโรงพยาบาล หากบุคลากรในโรงพยาบาลสัมผัสผู้ป่วยโดยไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม
- มีโอกาสเสี่ยงที่ได้รับเชื้อจากผู้ป่วย และเชื้อจะแพร่กระจายเป็นวงกว้างในโรงพยาบาลได้
- เสี่ยงต่อผู้ป่วยรายอื่นในโรงพยาบาล การแยกผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลได้
การปฏิบัติตัวให้หมาะสมสำหรับผู้เข้รับการตรวจโควิด-19 ที่โรงพยาบาล
- สวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ
- ล้างมือบ่อย ๆ
- แจ้งข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วน
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2564
ที่มา : อ. ตร. พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล