เช็กลิสต์ ความเสี่ยง “ประสาทหูชั้นในเสื่อม”

เช็กลิสต์ ความเสี่ยง “ประสาทหูชั้นในเสื่อม”

หากมีพฤติกรรมหรืออาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์หูคอจมูก

  • ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน รู้สึกหูอื้อตลอดเวลา
  • ปวดหู
  • มีเสียงรบกวนในหู เช่น เสียงหึ่ง ๆ หรือ วี๊ด ๆ คล้ายเสียงจิ้งหรีด
  • ได้ยินเสียงแต่จับใจความไม่ได้หรือความสามารถในการฟังลดลงเมื่ออยู่ในที่ที่มีเสียงดัง
  • มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ใส่หูฟังและฟังเสียงดังมาก ๆ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ

วิธีป้องกันประสาทหูชั้นในเสื่อม

  1. ปรับลดระดับความดัง หากใส่หูฟังควรปรับระดับความดังไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ของความดังสูงสุดของเครื่อง ใส่หูฟังที่ขนาดพอดีกับรูหู และควรมีระบบตัดเสียง (noise cancelling)
  2. จำกัดการทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสเสียงดัง จำกัดระยะเวลาการใส่หูฟัง หากต้องอยู่ในที่เสียงดัง เช่น สถานบันเทิง เล่นกีฬาที่มีเสียงดัง ควรมีช่วงพักหู ไม่ฟังเสียงดังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
  3. ติดตามระดับความดังของเสียง หากสัมผัสเสียงดัง 80 เดซิเบล ไม่ควรนานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  4. ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงเช่น ที่อุดหู (ear plug) ที่ครอบหู (ear muff) ถ้าต้องสัมผัสเสียงดัง
  5. หากมีการอักเสบของหูควรพบแพทย์เพื่อรักษา
  6. ควรตรวจประเมินการได้ยินเป็นประจำทุกปี

    ผศ.พญ.ภาณินี จารุศรีพันธุ์
    ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา
    ข้อมูล ณ วันที่ : 14 กันยายน 2567