เช็กอาการ โรคแพนิก วิตกกังวลขั้นไหนถึงควรพบคุณหมอ ?

เช็กอาการ โรคแพนิก วิตกกังวลขั้นไหนถึงควรพบคุณหมอ ?

โรคแพนิก (Panic Disorder) เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกวิตกกังวลหรือตื่นตระหนก ทั้งที่ยังไม่ได้เผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายใด ๆ และแม้โรคนี้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตบางอย่างได้ เช่น การขับรถ การทำงาน หรือการขึ้นลิฟต์

7 อาการพบบ่อยของโรคแพนิก

  1. ใจสั่น ใจเต้นแรง หรือใจเต้นรัว
  2. หายใจติดขัด รู้สึกแน่นหน้าอก
  3. เหงื่อออก ตัวสั่น มือเท้าสั่น
  4. คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน
  5. เวียนศีรษะ หน้ามืด
  6. ชาตามปลายมือ ปลายเท้า
  7. กลัวควบคุมตนเองไม่ได้ กลัวว่าตนเองกำลังจะตาย

อาการแพนิกมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีอาการอยู่นาน 1 – 10 นาที บางรายอาจมีอาการนาน 30 นาที – 1 ชั่วโมง หากมีอาการซ้ำสัปดาห์ละหลายครั้ง ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกวิธีต่อไป

การรักษาโรคแพนิก

  • รักษาด้วยการให้ความรู้ ฝึกการผ่อนคลาย และหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กลัว
  • แพทย์อาจรักษาด้วยการใช้ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า

วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคแพนิก

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดหรืองดดื่มกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด

ข้อมูลโดย : อ.นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2567