โรคเมลิออยด์พบบ่อยในฤดูฝน

โรคเมลิออยด์พบบ่อยในฤดูฝน

โรคเมลืออยด์ (Melioidosis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomalleiที่พบได้ทั่วไปในดิน น้ำ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย พบการติดเชื้อได้บ่อยในผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคธาลัสซีเมีย โรคปอด โรคใต ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

โรคเมลิออยด์ติดได้ทาง

  1. การรับเชื้อผ่านบาดแผลที่ผิวหนัง
  2. การดื่มน้ำหรือการรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน
  3. การสูดหายใจรับฝุ่นละอองที่มีเชื้อปนเปื้อน

อาการ

อาการทั่วไป คือ มีใช้ และมีฝีหนองที่ผิวหนังหรือบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอ อาจพบการติดเชื้อในอวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ ม้าม ไต ไปจนถึงติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเฉียบพลันอย่างรุนแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็วได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และปริมาณของเชื้อที่ได้รับ

การป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากจำเป็นต้องสวมรองเท้าบูทถุงมือยาง กางเกงขายาวหรือชุดลุยน้ำ
  2. หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำความสะอาดบาดแผล และหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลนั้นจะแห้งสนิท
  3. รับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด
  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ที่โล่งแจ้งหรือลงไร่นา ในขณะที่มีพายุฝนหรือสภาพอากาศแปรปรวน

ข้อมูล ณ วันที่ 14 กันยายน 2564
ที่มา : อ. ดร. พญ.สุวัชรี่พร โรจน์ชีวพันธ์