เมื่อไหร่ควร ?
ประคบร้อน
ความร้อนสามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาบริเวณที่ปวดหรือบาดเจ็บ แต่ต้องให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามพยาธิสภาพของรอยโรค มิฉะนั้นอาจให้ผลตรงข้ามได้ และควรระวังอย่าใช้อุณหภูมิที่สูงเกินไป อาจทำให้ผิวพุพองเกิดรอยไหม้ได้
อาการที่ควรประคบร้อน
- อาการเข็งตึงของข้อต่อ และกล้ามเนื้อ
- กระตุ้นการฟื้นฟูของกล้ามเนื้อกายหลังจากพ้นระยะบาดเจ็บเฉียบพลัน
- อาการปวดอื่น ๆ เช่น ปวดท้องประจำเดือน ปวดฟัน และปวดหน้าอกระหว่างให้นม
ประคบเย็น
ความเย็นจากการประคบทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ประคบหดตัว ลดอาการปวดอักเสบและลดอาการบวม
อาการที่ควรประคบเย็น
- การบาดเจ็บเฉียบพลันใน 48 – 72 ชั่วโมง หรือยังมีอาการปวดบวมร้อนชัดเจนอยู่ เช่น การบาดเจ็บฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เอ็นและบริเวณข้อต่อต่าง ๆจากแรงกระแทกหรืออุบัติเหตุต่างๆ
- อาการเจ็บป่วย และบาดเจ็บอื่น ๆ เช่น เป็นไข้ ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล แผลจากของมีคม แผลจากถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ที่ไม่รุนแรง
ข้อมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2564
ที่มา : รศ. พญ.จริยา บุญหงษ์