ภาวะของเส้นเสียงเมื่อหายจากโรคโควิด-19

ภาวะของเส้นเสียงเมื่อหายจากโรคโควิด-19

ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงและจำป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน เมื่อหายป่วยจากโรคโควิด-19 หรือถอดท่อช่วยหายใจออกแล้ว อาจส่งผลให้เส้นเสียงได้รับการบาดเจ็บ บวม ช้ำ อักเสบ โดยแบ่งภาวะความเจ็บป่วยของเส้นเสียงออกเป็น

ภาวะเส้นเสียงหดเกร็ง

ภาวะเส้นเสียงหดเกร็ง (laryngospasm) เกิดขึ้นขณะใส่ท่อช่วยหายใจและนำท่อช่วยหายใจออกจึงเกิดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเส้นเสียง ทำให้ออกซิเจนไม่ผ่านเข้าปอด

ภาวะเส้นเสียงอักเสบ

ภาวะเส้นเสียงอักเสบ (laryngitis) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การกระแทกเสียดสีจากภายในส้นเสียง เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อดมยาสลบหรือการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจน
  • การติดเชื้อโรคอื่น ๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา วัณโรค
  • ใช้งานเส้นเสียงมากเกินไป เช่น ไอแรง ไอเรื้อรัง ขากเสมหะเป็นประจำ
  • มีสิ่งระคายเคืองเส้นเสียง เช่น การหายใจเอามลพิษเข้าไป สูบบุหรี่ อาเจียน

การรักษา

  1. การให้ยา โดยแพทย์จะพิจารณาจากสาเหตุของโรคเป็นหลัก เช่น ยาแก้อักเสบ ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ไอ ยากรดไหลย้อน
  2. การผ่าตัด ในกรณีที่มีเนื้องอกหรือแผลเป็นในเส้นเสียง โดยแพทย์จะสอดท่อผ่านเข้าไปทางช่องปาก และผ่าตัดด้วยอุปกรณ์สำหรับเส้นเสียงโดยเฉพาะนอกจากนี้ผู้ป่วยควรพักการใช้เสียงอย่างน้อย 2 สัปดาห์โดยพูดเท่าที่จำเป็น ไม่ตะโกนหรือร้องเพลง งดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คำแนะนำจากแพทย์

ผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ควรสังเกตอาการเกี่ยวกับเส้นเสียงของตนเองโดยหากมีความผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรพบแพทย์ทันที

  1. เสียงแหบ หรือพดแล้วเสียงเบาลง
  2. กลืนเจ็บ หรือกลืนลำบาก
  3. ระคายคืองคอตลอดเวลา หรือมีอาการกระแอมไอเป็นประจำ
  4. หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง หรือหายใจเร็วผิดปกติ

ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2564
ที่มา : ผศ. พญ.เปรมสุดา สมบุญธรรม