ภาวะกล้ามเนื้อ เกร็ง บิด กระตุก

ภาวะกล้ามเนื้อ เกร็ง บิด กระตุก

ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง บิด กระตุก เป็นภาวะที่เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อขึ้นเอง ซึ่งสมองไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งกล้ามเนื้อที่หดตัวผิดปกติและพบบ่อย มี 4 ภาวะ ได้แก่

  1. ภาวะใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (Hemifacial Spasm) ผู้ป่วยจะมีอาการกระตุกและเกร็งที่ใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งในระยะแรกอาจกระตุกก่อนข้างห่างและรุนแรงขึ้น เริ่มจากกล้ามเนื้อตา ต่อมากระจายไปที่มุมปาก ใต้คาง หน้าผาก และจะกระตุกรุนแรงขึ้นเมื่อเครียด พูด หรือทำงาน ในบางรายที่มีอาการรุนแรงใบหน้าจะเบี้ยวและเสียรูปได้
  2. ภาวะกระพธิบตา 2 ข้าง (Blepharospasm) ผู้ป่วยจะมีอาการกระพริบตา 2 ข้างถี่ขึ้น จนหนังตาปิดทั้ง 2 ข้าง ทำให้มองไม่เห็น
  3. ภาวะกล้ามเนื้อคอบิด เกร็ง สั่น (Cervical Dystonia) ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งที่คอจากท่าที่บิด เอียง ก้ม เงยเป็นพัก ๆ บางครั้งมีสั่นกระตุกร่วมด้วย โดยผู้ป่วยสามารถใช้มือจับที่หน้าหรือคางไว้ เพื่อลดอาการเกร็ง สั่น หรือกระตุก
  4. ภาวะกล้ามเนื้อมือเกร็ง (Writer’s Cramp) ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งที่กล้ามเนื้อมือและแขน เมื่อเขียนหนังสือ ทำให้มีอาการปวดเมื่อย และเขียนได้ช้าลง เมื่อมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจทำให้เกิดการเกร็งที่มือและแขน

การรักษา

ก่อนฉีดโบทูลินัมทอกชินเพื่อทำการรักษา จะมีการพิจารณากายวิภาคและสรีรวิทยาการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหว และอาจใช้เครื่องอัลตราชาวด์นำทางในการหาตำแหน่งของกล้ามเนื้อแต่ละมัด โดยหาจุดที่มีการเกร็ง กระตุกแรงที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเกร็ง บิด กระตุก หรือสั่นน้อยลง ตั้งแต่วันที่ 1-3 หลังจากฉีดยา จากนั้นอาการจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ (ยาฉีดชนิดนี้จะออกฤทธิ์เฉลี่ย 3-6 เดือน กล้ามเนื้อจึงจะกลับมาเกร็งกระตุกอีกครั้ง)

ข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2564
ที่มา : ศ. พญ,อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา