ผงชูรสในอาหาร

ผงชูรสในอาหาร

ผงชูรสเป็นสารเคมีที่มีชื่อเรียกว่า monosodium glutamate หรือ MSGซึ่งอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ที่ได้รับสารนี้บางราย ได้แก่

  • กลุ่มอาการเอ็มเอสจี (MSG symptom complex) ซึ่งจะเกิดขึ้น 1-14 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารที่มีผงชูรสโดยมีอาการปวดศีรษะ เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวตต้นคอ คลื่นไส้ เหงื่อแตก รู้สึกเสียวซ่านตามผิวหนัง หน้าแดง ใจสั่น และแน่นหน้าอก ในเด็กอาจมีอาการหนาวสั่น กระสับกระส่าย เพ้อ และกรีดร้อง เกิดอาการแพ้ในระบบต่าง ๆ ได้บ้าง เช่น การเป็นลมพิษ หน้าบวม ปากบวม หอบหืด น้ำมูกไหล แน่นจมูก
  • อาการหน้าแดง ในบางคนที่ได้รับผงชูรสในปริมาณมาก
  • อาการปวดศีรษะ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดไมเกรน
  • ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคมีเนียร์ (Meniere’s disease) ซึ่งมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน การได้ยินลดลง และมีเสียงหวีดในหู การหลีกเลี่ยงผงชูรสอาจช่วยบรรเทา อาการของโรคได้
  • ผู้ใหญ่ไม่ควรได้รับโชเดียมเกินกว่า 2 กรัมต่อวัน ในขณะที่ผงชูรส 1 ซ้อนชา จะมีโซเดียม 492 มิลลิกรัม
  • ผู้ที่เคยมีความผิดปกติหลังการได้รับผงชูรส ควรระบุกับผู้ปรุงอาหารทุกครั้งว่าไม่ต้องการใส่ผงชูรส

ควรมีการทำความเข้าใจและส่งเสริมให้ลดการใช้ผงชูรสลง เนื่องจากไม่ใช่สิ่งจำเป็น ในการสร้างรสชาติให้อาหาร และหากได้รับมากไปก็อาจเกิดผลเสียบางประการต่อร่างกาย

ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2562

ที่มา : ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล