ปริมาณโซเดียมในอาหาร
โซเดียมมักพบอยู่ที่ไหน ?
โซเดียมที่บริโภคกันโดยทั่วไปคือ โซเดียมที่อยู่ในรูปของเกลือแกงและน้ำปลาซึ่งมีรสเค็มโดยปกติแล้วไม่ควรรับประทานโซเดียมเกินวันละ 2 กรัม ซึ่งเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 5 ช้อนชา แต่ปัจจุบันคนไทยรับประทานเกลือที่อยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรสเฉลี่ยวันละ 7 กรัม ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไต
อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง
- น้ำซุป-น้ำแกง
มักอุดมไปด้วยเกลือและโซเดียม โดยในซุป 1 ถ้วยอาจมีประมาณโซเดียมสูงถึง 1,000 มิลลิกรัม - ขนมถุง
ในขนมถุงมีเกลือโซเดียมที่ใช้เป็นสารปรุงแต่งรสชาติ หากรับประทานปริมาณมากอาจทำให้ได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป - อาหารแช่แข็ง
อาหารแช่แข็งใช้โซเดียมในการยืดอายุการเก็บรักษาเพื่อที่จะคงสภาพเนื้อสัมผัสให้อยู่ได้นาน - ผักดอง-ผลไม้แช่อิ่ม
การดองและการแช่อิ่มคือ การใช้เกลือเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ หากรับประทานบ่อยจะทำให้ได้รับโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย
สำหรับผู้ป่วยโรคใตควรระมัดระวังการบริโภคน้ำปุลาโซเดียมต่ำเนื่องจากอาจมีโพแทสเซียมในปริมาณที่สูง
ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2564
ที่มา : อ. พญ.สมกัญญา ตั้งสง่า