ปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อน
- การออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อน ส่งผลให้เกิดภาวะเพลียแดดและลมแดดโดยภาวะลมแดดอาจทำให้ระบบการทำงานของร่างกายล้มเหลวและเสียชีวิตได้
- ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อนมาก่อน ควรเริ่มออกกำลังกายด้วยระยะเวลาครึ่งหนึ่งของระยะเวลาที่เคยออกกำลังกายในอุณหภูมิปกติแล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาขึ้นทีละ 20% จากเวลาเดิมที่เคยใช้
- ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 5-10 นาที
- เนื่องจากการออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อนจะสูญเสียเหงื่อค่อนข้างมาก ควรจิบน้ำปริมาณ 250 มิลลิลิตร ในทุก ๆ 20 นาที
- ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะลมแดด ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น Diphenhydramine,Tricyclic antidepressant, Phenothiazide ผู้ที่ใช้สารเสพติดบางชนิด รวมถึงผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
ข้อควรระวังขณะออกกำลังกาย
อาการที่ควรหยุดพัก
- เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- หน้ามืดกล้ายจะเป็นลม
อาการฉุกเฉินต้องเรียกรถพยาบาล
- เหงื่อออกมากผิดปกติหรือเหงื่อไม่ออกเลย
- มีอาการสับสน ถามตอบไม่รู้เรื่อง ชัก หมดสติ
- ความดันตก
วิธีปฐมพยาบาล
- นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม
- ปลดกระดุมเสื้อ คลายเข็มขัดออก เพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น
- ประคบเย็นบริเวณศีรษะ คอ รักแร้ ข้อพับ และขาหนีบ
- ประคบน้ำแข็ง ราดน้ำเย็นให้ทั่วตัว เปิดพัดลม หรือดื่มน้ำเย็น
- เพื่อทำให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลง
- หากหมดสติให้โทรแจ้ง 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ
ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน 2564
ที่มา : อ. พญ.ฑิมภ์พร วิทูรพงศ์