น้ำกัดเท้า โรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม
น้ำกัดเท้า หมายถึงภาวะที่ผิวหนังบริเวณเท้าเปื่อยลอก มักเกิดจากการแช่ในน้ำเป็นเวลานาน อาการของโรคน้ำกัดเท้าแยกได้เป็น 2 ระยะ คือ
ระยะแรก: อักเสบระคายเคือง ผิวหนังจะแดงลอก มีอาการเท้าเปื่อย คันและแสบ ระยะนี้อาจยังไม่มีการติดเชื้อ
ระยะที่สอง: ติดเซื้อแทรกซ้อบ เนื่องจากผิวหนังที่ชื้นและเปื่อย เท้ามีกลิ่นเหม็น ซึ่งพบบ่อยคือเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
วิธีป้องกันน้ำกัดเท้า
- รักษาความสะอาด และลดความชื้นของเท้า และรองเท้าให้มากที่สุด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรก และรีบล้างเท้าหลังสัมผัสทันที ด้วยสบู่ที่อ่อนโยนต่อผิว
- หลังจากล้างและเช็ดเท้าจนแห้งแล้ว ทาครีมให้ความชุ่มชื้นหรือยาขี้ผึ้งบริเวณผิวหนังที่ลอก เพื่อลดโอกาสที่น้ำจะซึมผ่านผิวหนังจนเกิดความชื้นและผิวเปื่อย
- ในกรณีที่มีเหงื่อออกมา เช่น บริเวณฝ่าเท้า อาจใช้แป้งโยหรือยาทาลดเหงื่อ เพื่อให้ช่วยดูดซับเหงื่อส่วนเกิน
- หากเกิดบาดแผล ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสของแผลกับน้ำที่ท่วมขัง
ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2565
ที่มา : อ. นพ.ชนัทธ์ กำธรรัตน์
หน่วยผิวหนัง ฝ่ายอายุรศาสตร์