ทำความรู้จักกับโรคลมชัก
โรคลมชัก คือ โรคที่เกิดจากการปลดปล่อยของคลื่นไฟฟ้าสมองและสร้างจากเซลล์สมองที่ผิดปกติออกมาพร้อมกันจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดการทำงานของสมองที่ผิดปกติ และมีอาการชักเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ประมาณ 1-2 นาที โดยส่วนใหญ่จะไม่เกิน 5 นาที หลังจากนั้นอาการจะหายไป
อาการ
- ชักแบบรู้ตัว เช่น ชักเกร็ง กระตุกแขนขา ใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งมีอาการชา มีความรู้สึกผิดปกติของแขนขาด้านใดด้านหนึ่ง หรือเห็นแสงระยิบระยับ
- ชักแบบไม่รู้ตัว เช่น ชักเหม่อร่วมกับการกระทำบางอย่างโดยไม่รู้ตัว เช่น เคี้ยวปาก มือกลำสิ่งของหรือเสื้อผ้าของตนเองและคนรอบข้างชักแบบเกร็งหรือกระตุกทั้งตัว
ข้อสังเกตอาการชัก อาการชักมักเกิดขึ้นในรูปแบบเดียวกันทุกครั้ง แต่ละครั้งนานประมาณ 1-2 นาที โดยหลังชักผู้ป่วยจะมีอาการสับสน
การปฐมพยาบาล
อาการชักเกร็งกระตุกแบบไม่รู้ตัว
- เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง จัดให้อยู่ในท่านอนหงาย และตะแคงหน้า
- คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อให้หายใจได้สะดวก
- ห้ามใช้ไม้กดลิ้นหรือวัตถุใด ๆ สอดเข้าไปในปากเพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้ให้ความช่วยเหลือ
อาการชักเหม่อแบบไม่รู้ตัว
- เฝ้าระวังให้ผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เดินไปที่หน้าต่างหรือบันได และระวังไม่ให้ล้ม จากนั้นรอจนกระทั่งอาการชักหายไป
- หลีกเลี่ยงการเข้าจับหรือฉุดยื้อผู้ป่วยมากเกินไปเพราะในขณะที่ชักผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวอาจเกิดการต่อสู้และทำให้เกิดอันตรายได้
เผยแพร่ ณ วันโรคลมชักโลก (วันที่ 26 มีนาคม 2564)
ที่มา : ผศ.(พิเศษ) นพ.ชูศักดิ์ ลิโมทัย