ดูแลผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาสุขภาพในช่วงโควิด-19

ดูแลผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาสุขภาพในช่วงโควิด-19
  1. ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกักตัวหรือผู้ป่วยสมองเสื่อมอาจมีความรู้สึก กังวล โกรธ ตึงเครียด มีอาการกระบกระส่ย และก็บตัวมากขึ้นในระหว่างการระบาด สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลควรมีการให้กำลังใจเพื่อให้อาการต่าง ๆ เหล่านี้สงบลง
  2. สามารถแบ่งปันข้อเท็จริงง่าย ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น และให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในรูปแบบที่ผู้สูงอายุ (ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีภาวะสมองเสื่อมก็ตาม) จะสามารถข้าใจได้ อาจบอกข้อมูลซ้ำได้ตามที่จำเป็น
  3. อาจให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในการฝึกวิธีการป้องกัน (เช่น การฝึกล้างมือ เป็นต้น) โดยให้คำแนะนำอย่างสั้น ๆ แต่ชัดเจน และอดทนในการค่อย ๆ บอก หรือใช้วิธีสื่อสารโดยการเขียนหรือใช้รูปกาพซึ่งง่ายต่อผู้สูงอายุ
  4. หากมีโรคประจำตัวอยู่เดิม ควรทำให้แน่ใจว่ามียาอย่างเพียงพอ และสามารถเข้าถึงยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้เมื่อต้องการ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามียาที่ต้องใช้เป็นประจำก็บไว้กับตัวอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  5. เตรียมตัวและวางแผนล่วงหน้าหากจำเป็นต้องร้องขอความช่วยเหลือจะสามารถใช้วิธีใดได้บ้าง เช่น การเรียกรถแท็กซี่ การสั่งอาหาร และการร้องขอบริการทางการแพทย์ (เช่น เตรียมเบอร์ของรถพยาบาลฉุกเฉิน)
  6. เรียนรู้การออกกำลังกายแบบง่าย ๆ ที่ทำได้ที่บ้านทุกวันในช่วงของการแยกกักตัว โดยควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อรักษาความคล่องตัวและลดความเบื่อเช็ง
  7. รักษากิจวัตรและตารางประจำให้หมือนเดิมให้มากที่สุด หรืออาจลองทำกิจกรรมใหม่ ๆในสภาพแวดล้อมใหม่ เช่น ออกกำลังกายในบ้าน ลองทำความสะอาดบ้าน ฝึกร้องเพลง (เช่น ผ่านแอปพลิเคชันที่มีคาราโอเกะ) ลองวาดภาพหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่สนใจ
  8. ติดต่อกับคนรักและคนในครอบครัวเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เช่น โทรศัพท์คุยกันหรือใช้ออนไลน์แอปพลิเคชัน เช่น ไลน์ เฟซไทม์

ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2563

ที่มา : อ.นพ.ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร