ข้อเท็จจริงของโรคปอดอักเสบ อู่ฮั่น โคโรนาไวรัส สายพันธ์ุใหม่

ข้อเท็จจริงของโรคปอดอักเสบ อู่ฮั่น โคโรนาไวรัส สายพันธ์ุใหม่
  • ผู้ป่วยกลุ่มแรกที่พบส่วนใหญ่มีแหล่งสัมผัสจากตลาดสดที่มีการขายอาหารทะเล และสัตว์ที่- ยังมีชีวิต
  • เป็นโรคอุบัติใหม่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ทุกคนจึงมีสิทธิ์ที่จะติดชื้อได้หากสัมผัสชื้อโรค โดยความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น ตามอายุ ในเด็กความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  • อาการที่ต้องสงสัย คือ เป็นผู้ที่มาจากแหล่งระบาดของโรค ร่วมกับมีไข้ และ อาการระบบทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก ในรายที่รุนแรง จะมีปอดอักเสบเกิดขึ้น และทำให้ระบบหายใจล้มเหลวถึงกับเสียชีวิตได้
  • ส่วนใหญ่มีระยะฟักตัวประมาณ 2-7 วัน การเฝ้าสังเกตอาการหลังสัมผัสโรคหรือมาจากแหล่งระบาดของโรค คือ 14 วัน
  • สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ จึงเกิดการแพร่กระจายได้ มีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าโรคมอร์สและโรคชาร์ส ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต อยู่ที่ 30% และ 10% ตามลำดับ ในขณะที่ครนไวรัสสายพันธุ์ใหม่อยู่ที่น้อยกว่า 3%
  • ยืนยันผลการวินิจฉัยด้วยการตรวจหาพันธุกรรมของไวรัสในห้องปฏิบัติการ
  • อาจมีผู้ที่ติดเชื้อจำนวนมากที่ยังไม่แสดงอาการ หรือมีอาการน้อย ดังนั้นผู้ป่วยจึงสามารถเดินทางไปได้ไกลและแพร์โรค ทำให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้ทั่วโลก
  • เป็นไวรัสที่ทำให้กิดโรคทางเดินหายใจอักสบ มีได้ทั้งแบบไม่มีอาการ และมีอาการทางเดินหายใจอักเสบแบบเฉียบพลันจนถึงปอดอักเสบและโรคแทรกซ้อน
  • เป็นโรคที่ติดต่อโดยการสัมผัสฝอยละออง มีความรุนแรงน้อยแต่จะกระจายได้มาก
  • ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสในการรักษา และไม่มีวัคชีนในการป้องกัน
  • การป้องกันที่ดีที่สุด คือ หลีกลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย รวมถึง “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันโรคที่ติดต่อทางฝอยละออง
  • การเดินสวนกันไปมาไม่ทำให้ติดโรค แต่การอยู่ในระยะใกล้มีการพูดคุยหรือมีการจาม และมีฝอยละอองกระเด็นมาถูกบริเวณใบหน้าทำให้ติดโรคนี้ได้
  • ผู้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจทุกคนควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค สำหรับคนปกติถ้าต้องการป้องกันโรคสามารถใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 โดยสวมให้แน่นไม่มีลมเข้าด้านข้าง
  • ในภาวะปกติที่โรคยังไม่ระบาดควรดำเนินชีวิตแบบปกติ รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ผู้มีโรคประจำตัวดูแลให้อยู่ในระดับปกติ

ข้อมูล ณ วันที่ 29 มกราคม 2563

ที่มา : ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ