การแพ้สารทึบรังสี

การแพ้สารทึบรังสี

ปัจจุบันนี้การตรวจเอกซเรย์คอมผิวเตอร์นิยมใช้สารทึบรังสีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัย โดยทั่วไปสารนึบรังสีจัดว่ามีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่ก็มีโอกาสแพ้ได้ทั้งนี้การแพ้ระดับรุนแรงเกิดขึ้นเพียงร้อยละ 0.04

การเตรียมตัวก่อนการได้รับสารทึบรังสี

แจ้งประวัติโรคประจำตัว โดยเฉพาะกลุ่มโรคหอบหืด, ภูมิแพ้, ไทรอยด์เป็นพิษและโรคไต, ยาที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะยา Metformin ที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน, ประวัติการแพ้ยา และอาหาร และประวัติการได้รับสารที่บรังสี รวมถึงผลข้างเคียงที่เคยเกิดขึ้นจากการตรวจครั้งก่อน ทั้งนี้การแพ้อาหารทะเสไม่จัดเป็นข้อห้ามในการได้รับสารที่บรังสี

ระหว่างได้รับสารทึบรังสี

ขณะได้รับสารทีบรังสีเข้าหลอดเลือด อาจมีความรู้สึกไมสบายตัว, ร้อนวูวาบ หรือคลื่นไส้เล็กน้อย ซึ่งจะเป็นชั่วคราวและหายไปได้เองในเวลาไม่กี่นาที

ภายหลังได้รับสารทึบรังสี

สังเกตอาการกายหลังได้รับสารที่บรังสี ซึ่งอาการแพ้แบบเฉียบพลันจะเกิดภายใน 1 ชั่วโมง หากพบว่ามีผื่นขึ้นตามตัว, คันตามผิวหนัง, เคืองตา, น้ำมูกไหล, หน้าหรือตัวบวม, คลื่นไส้ อาเจียน, หายใจลำบาก, หัวใจต้นเร็ว, เหนื่อยมากขึ้น, ความดันโลหิตต่ำหรือวูบหมดสติ ให้รีมแจ้งพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแล เพื่อทำการประเมินอาการผู้ป่วยและระดับความรุนแรง

สามารถพบผลข้างเคียงแบบลำช้ คือ เกิดขึ้นระหว่าง 1 ชั่วโมง ถึง 1 สัปดาห์ภายหลังได้รับการฉีดสารทึบรังสี โดยพบอาการทางผิวหนังได้บ่อย เช่น ผื่นผิวหนังหรืออาการคัน อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงแบบล่าช้ามักหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

ข้อมูล ณ วันที่ 17 มีนาคม 2565
ที่มา : อ. พญ. นิศานาถ ภิสัชเพ็ญ
ฝ่ายรังสีวิทยา