การเจาะตับผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหาร

การเจาะตับผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหาร

นวัตกรรมการเจาะตับผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นการวินิจฉัยโรคและการประเมินความรุนแรงของโรคตับที่ถูกต้องแม่นยำช่วยให้การวินิจฉัยรวดเร็วและลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย โดยการเจาะขึ้นเนื้อตับมาตรวจทางพยาธิวิทยาใช้ในผู้ป่วยบางราย เพื่อหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง

วิธีการเจาะชิ้นเนื้อตับ

  1. การเจาะชิ้นเนื้อตับผ่านทางผิวหนังหน้าท้อง
    • ใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเก็บชิ้นเนื้อตับผ่านทางผิวหนังหน้าท้อง
    • ผู้ป่วยจะมีรอยแผลเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง และอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อยหลังจากการเจาะตับ
    • มีข้อจำกัดของการตรวจด้วยวิธีนี้ในรอยโรคบางตำแหน่งที่เข้าถึงได้ยาก
  2. การเจาะชิ้นเนื้อตับผ่านทางหลอดเลือดดำ
    • สอดเข็มผ่านไปตามหลอดเลือดดำ เข้าไปภายในตับ และเจาะชิ้นเนื้อตับออกมา
    • ใช้ในกรณีผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการเข็งตัวของเลือดหรือเกล็ดเลือดต่ำมากและผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้องปริมาณมาก (ท้องมาน)
    • ผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง เช่น รอยช้ำหรือก้อนเลือดบริเวณแผลที่เจาะเข้าหลอดเลือดดำ มีโอกาสเกิดการตกเลือดภายในได้แต่น้อย
    • มีข้อจำกัดในการเลือกตำแหน่งของชิ้นเนื้อที่ตับ
  3. การเจาะชิ้นเนื้อตับผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหาร
    • การส่องกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าทางปาก จากนั้นแพทย์จะใช้เข็มเจาะดูดชิ้นเนื้อตับผ่านผนังกระเพาะอาหาร
    • สามารถเข้าถึงส่วนของเนื้อตับได้ โดยไม่ทำให้ผู้ป่วยมีแผลภายนอก

ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564
ที่มา : รศ. นพ.ประเดิมชัย คงคำ