การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจ
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะหากแพทย์แนะนำให้พกยาในโตรกลีเซอธิน
และควรหมั่นสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจเสมอ ทั้งในขณะออกกำลังกายและหลังออกกำลังกาย
ข้อควรปฏิบัติในการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจ
- อบอุ่นร่างกายอย่างน้อย 5 นาทีก่อนเริ่มออกกำลังกายทุกครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมร่างกาย โดยอาจยืดกล้ามเนื้อหรือออกกำลังกายแบบเบา ๆ
- ค่อย ๆ ผ่อนคลายการออกกำลังกายในช่วงท้ายด้วยการค่อย ๆ ผ่อนระดับความหนักหรือยืดกล้ามเนื้อเพื่อช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจค่อย ๆ กลับสู่ภาวะปกติ
- หลีกเลี่ยงการนั่งพักอย่างทันทีหลังการออกกำลังกายเนื่องจากอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการเวียนศีรษะหรือใจสั่นได้
อาการระหว่างออกกำลังกายที่ควรไปพบแพทย์
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก อาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆหรืออาการไม่ดีขึ้นแม้จะรับประทานยาแล้ว
- รู้สึกปวดหรือแน่นบริเวณแขน คอ ขากรรไกร หรือหัวใหล่
- หายใจไม่เต็มอิ่ม
- แชนชา
- ตัวซีดหรือเหงื่อออกมากผิดปกติ
- เวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม
- ชีพจรสูงเกิน 120-150 ครั้ง/นาที แม้อยู่ในช่วงพักหลังออกกำลังกายเป็นเวลานานเกิน 15 นาทีจุกเสียด
ข้อมูล ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2564
ที่มา : อ. นพ.วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์