การรักษามะเร็งเต้านม ด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
โดยปกติแล้วโรคมะเร็งเต้านมมีวิธีการรักษา 4 วิธี ได้แก่ ผ่าตัด ฉายรังสีรักษา เคมีบำบัด และการให้ยาฮอร์โมน ซึ่งศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้พัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งเต้านมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Immunotherapy หรือ ภูมิคุ้มกันบำบัด โดยใช้เซลล์ของร่างกายหรือระบบภูมิคุ้มกันของตนเองเป็นตัวควบคุมเซลล์มะเร็ง
บทบาทของภูมิคุ้มกันบำบัด
การที่ทีมผู้รักษานำข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะตัวของเซลล์มะเร็งมาใช้ป้อนข้อมูลให้กับเซลล์ที่มีชื่อว่า เดนไดรติกเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่สามารถส่งสัญญาณให้กับเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ว่า เซลล์ชนิดใดเป็นเซลล์มะเร็งและกำจัดเซลล์มะเร็งนั้นทิ้ง
ความสำเร็จของภูมิคุ้มกันบำบัด
- เกิดขึ้นจากการศึกษาก้อนเนื้อมะเร็งตับ เพื่อตรวจดูพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งว่ามีลักษณะจำเพาะอย่างไรโดยจับเซลล์ที่มีลักษณะจำเพาะเหล่านั้นมาใช้เพื่อคัดลอกเซลล์หรือเปปไทด์ และนำมาเลี้ยงกับเดนไดรติกเซลล์ที่สามารถจดจำได้ว่าเชื้อชนิดใดเป็นเซลล์มะเร็ง
- หลังจากฉีดเซลล์ที่เพาะเลี้ยงนี้เข้าไปที่ต่อมน้ำเหลืองพบว่า น้ำในปอดหายไปหมดและเซลล์มะเร็งในตับหายไป 100%
- จากหลักการการรักษาที่สร้างเซลล์หรือเปปไทด์จากพันธุกรรมเพื่อใช้จำเพาะบุคคลเท่านั้น ดังนั้นจึงมีโอกาสที่การรักษาจะมีประสิทธิภาพ และสามารถอยู่ในร่างกายได้นาน เนื่องจากเป็นเซลล์ของตนเอง
ผลข้างเคียง
หลังจากฉีดเซลล์เข้าไป 7-8 เดือน มีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ รู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ท้องจะยุบลงและมีอาการเหนื่อยน้อยลง ช่วงนี้อาการจะดีขึ้นและกลับเป็นปกติ สามารถออกกำลังกายได้ไม่รู้สึกเหนื่อยเช่นเดิม
การศึกษาในระยะยาว
- ในระยะยาวจะมีการศึกษาเพื่อดูสถิติของผู้ที่ได้รับการรักษาแต่ละคนว่าจะสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวเท่าไร
ข้อมูล ณ วันที่ 17 เมษายน 2564
ที่มา : นพ.กฤษณ์ จาฎามระ