การปฏิบัติตัวและดูแลผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย

การปฏิบัติตัวและดูแลผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย

โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือ โรคเลือดออกง่ายหยุดยากทางพันธุกรรม พบในเพศชายเท่านั้นเพศหญิงจะเป็นพาหะที่ไม่แสดงอาการแต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้

การดูแลผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย

  1. ฉีดวัคซีนเหมือนเด็กทั่วไปและควรกดห้ามเลือดภายหลังการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 10 นาที
  2. ตรวจฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน และแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันฟันผุ
  3. แนะนำให้ใส่สนับเข่าหรือข้อศอก เพื่อป้องกันการกระแทกและเกิดข้อเท้าพลิก
  4. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่รุนแรง เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล ชกมวย สเกตบอร์ด
  5. ควรสวมหมวกกันน็อกเมื่อขี่จักรยานหรือรถจักรยานยนต์
  6. ควรมีจดหมายติดตัว รวมทั้งการแจ้งคุณครูที่โรงเรียนถึงโรคของผู้ป่วย

การรักษาเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะเลือดออกในข้อ

  • ประคบเย็น เพื่อหยุดเลือดออกและลดความเจ็บปวดใน 24 ชั่วโมงแรก
  • ไม่ควรเคลื่อนไหวข้อที่เกิดเลือดออก เพราะอาจเกิดเลือดออกซ้ำ
  • รีบให้แฟกเตอร์ทันที เพื่อช่วยหยุดเลือด ในผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย เอ ควรได้รับแฟกเตอร์ 8 และฮีโมฟีเลีย บี ควรได้รับแฟกเตอร์
  • หลังจาก 24-48 ชั่วโมง ประคบอุ่น เพื่อช่วยละลายเลือดที่อยู่ในข้อและทำให้ข้อยุบบวมลง
  • เมื่อหายปวดให้เริ่มบริหารข้อนั้น เผื่อให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม
  • ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ที่รักษา เพื่อประเมินอาการเลือดออก
  • ภาวะเร่งด่วนที่ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองต้องรีบไปโรงพยาบาล ได้แก่ อุบัติเหตุที่ศีรษะ คอ ช่องท้อง หรือเลือดออกที่กล้ามเนื้อใหญ่

ข้อมูล ณ วันที่ 18 เมษายน 2564
ที่มา : รศ. พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล