การตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยที่สงสัยโรคมะเร็งปอด
จุดมุ่งหมาย
เพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากตำแหน่งที่มีรอยโรคส่งตรวจต่อทางพยาธิวิทยา
เทคนิคการตรวจวินิจฉัยที่นิยมกันในปัจจุบัน ได้แก่
1 การส่องกล้องตรวจหลอดลม (Bronchoscopy) คือ การใช้กล้องส่องตรวจหลอดลม จุดประสงค์เพื่อตรวจดูความผิดปกติของหลอดลม หรือ การทำหัตถการต่าง ๆ ที่ปอดและหลอดลม เช่น การตัดชิ้นเนื้อเยื่อปอดหรือหลอดลม การล้างน้ำในปอด
2 การเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดและการตัดชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอด (Thoracocentesis and Pleural biopsy) โดย
- การเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Thoracocentesis) คือ การใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านทางผนังทรวงอก จุดประสงค์เพื่อการวินิจฉัยน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดเพื่อหาเซลล์มะเร็งและการรักษาโดยการระบายน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดเพื่อบรรเทาอาการเหนื่อย
- การตัดชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอด (Pleural biopsy) เพื่อการวินิจฉัยโดยใช้เข็ม Abrams needle ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อสามารถเกี่ยวและตัดชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอดได้และส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
ข้อมูล ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565
ข้อมูลโดย : อ. นพ.นพพล ลีลายุวัฒนกุล
หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤติ