การกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19
ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา โดยธรรมชาติสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดิม
การกลายพันธุ์ของโควิด-19
- เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์อู่ฮั่น เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562
- สายพันธุ์ G แพร่ได้ง่ายกว่า ทำให้เกิดการระบาดแทนที่สายพันธุ์อู่ฮั่น
- สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ระบาดง่ายกว่าสายพันธ์ G เดิม จึงเกิดการระบาดกว้างขวางทั่วโลก
- สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) แพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อัลฟา กำลังจะมีแนวโน้มที่จะระบาดไปทั่วโลก
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในประเทศไทยรอบแรกเป็นเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์อุ่ฮั่น การระบาดระลอก 2 เป็นสายพันธุ์จีเอช (๕H) และการระบาดระลอก 3 เป็นสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ)ขณะนี้มีแนวโน้มพบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) เพิ่มมากขึ้น และมีโอกาสแพร่กระจายได้มากขึ้นจนแทนที่สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ในอนาคต เพราะการติดต่อของสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) นั้นง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นคลัสเตอร์ ซึ่งพร้อมที่จะแพร่กระจายเชื้อได้ตลอดเวลา
สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ที่มีการพูดถึงในขณะนี้ถึงแม้จะมีความสามารถทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง แต่ความสามารถในการแพร่กระจายช้ากว่าสายพันธุ์เดลตา
คำแนะนำจากแพทย์
สิ่งที่สำคัญคือสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้น จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนเริ่มลดลง การติดตามการกลายพันธุ์ของไวรัสจึงสำคัญ โดยทั่วโลกเริ่มมีการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสและพัฒนาวัคซีนอย่างต่อเนื่อง การให้วัคซีนในคนหมู่มากอย่างรวดเร็ว เป็นวิธีหนึ่งในการสกัดสายพันธุ์กลายพันธุ์ไม่ให้มีการแพร่ระบาด ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าจะลดลงบ้าง แต่ก็ยังมีส่วนช่วยสกัดไม่ให้สายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาดได้
ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564
ที่มา : ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ