ใครบ้าง? ที่มีปัจจัยเสี่ยงจะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
- สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ก่อน
- สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวก่อนการตั้งครรภ์ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคโตเรื้อรัง โรคลูปัส และantiphospholipid syndrome
- สตรีตั้งครรภ์แฝด
- สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
- สตรีตั้งครรภ์ครั้งแรก
- สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
- ประวัติคนในครอบครัว ได้แก่ มารดา พี่สาว หรือน้องสาว เคยมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
- การตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
- ภาวะทางสูติกรรมอื่นๆ เช่น เคยมีภาวะทารก โตช้าในครรภ์ คลอดทารกน้ำหนักน้อย ตั้งครรภ์ห่างจากครรภ์ก่อนมากกว่า 10 ปี เป็นต้น
คำแนะนำ : สตรีที่ตั้งใจจะตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์แล้วมีความเสี่ยงการเกิดครรภ์เป็นพิษ ควรมาพบแพทย์แต่เนิ่น ๆเพื่อที่แพทย์จะได้ค้นหาความเสี่ยง ดูแลรักษาโรคประจำตัวก่อนการตั้งครรภ์ให้คำแนะนำเรื่องการฝากครรภ์ พิจารณาให้ยาแอสไพริน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ รวมทั้งติดตามอาการ และวางแผนการดูแลรักษาภาระครรภ์เป็นพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูล ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565
ที่มา : อ. นพ.นพดล ไชยสิทธิ์
ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา