โรคปากแหว่ง เพดานโหว่

โรคปากแหว่ง เพดานโหว่

ปากแหว่งเพดานโหว่ (cleft lip and cleft palate) เป็นความพิการของใบหน้าที่เกิดกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยประมาณ 1-2 คนต่อทารกแรกเกิด 1,000 คน
🗣สาเหตุของโรค
1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมที่ผิดปกติ
2. ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อสตรีที่ตั้งครรภ์ ในช่วง 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหาร ผลข้างเคียงของยา สารเคมีบางอย่าง หรือการติดเชื้อ
🗣อาการของโรค
ปากแหว่ง
1. มีรอยแยกของริมฝีปากบน
2. อาจมีรอยแยกไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า
เพดานโหว่
1. รอยแยกที่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง
2. อาจมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เปิด-ปิด ทางระบายหูชั้นกลางผิดปกติ
3. มีน้ำดั่งในหูชั้นกลางส่งผลต่อการได้ยินลดลง
4. มีโครงสร้งของกระดูกใบหน้าส่วนกลางผิดปกติ
5. มีการสบกันของฟันผิดปกติ
6. ทำให้มีปัญหาการพูด คือ พูดไม่ชัด เสียงขึ้นจมูก
🗣วิธีการรักษา
1. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ ควรได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม
2. ในแต่ละช่วงวัยจะมีการรักษาและแก้ไขอาการแตกต่างกันไป
3. ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดตามวัย ซึ่งอาจมากกว่า 1 ครั้ง
4. ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลและผ่าตัดอย่างถูกวิธีจะลดความพิการกลับมาอยู่ในภาวะปกติได้

ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2563
ที่มา : รศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์