เหงือกบวมอย่างไร ต้องไปพบทันตแพทย์

เหงือกบวมอย่างไร ต้องไปพบทันตแพทย์

1.เหงือกบวมจากกระดูกงอก
เหงือกจะมีสีชมพูปกติ หรืออาจมีสีขาวซีด หากตุ่มกระดูกก้อนใหญ่นี้ดันเหงือกออกมามาก อาการบวมนี้เกิดจากกลไกที่ร่างกายสร้างกระดูกให้หนาขึ้น เพื่อรับแรงบดเคี้ยวที่หนักหน่วงไม่เท่ากัน
2.เหงือกบวมจากผลข้างเคียงของยา
เหงือกจะบวมขึ้นหนามาก แต่เนื้อแน่น มีสีชมพูปกติ ผู้ป่วยจะหายปกติหากหยุดยาและขูดหินปูน ถ้าไม่หายอาจต้องศัลยกรรมตัดแต่งเหงือกเพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ดีขึ้น
3.เหงือกบวมจากการถูกระคายเคืองเป็นเวลานาน
มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง สีชมพูปกติ รักษาด้วยการตัดก้อนที่บวม
4.เหงือกบวมจากโรคปริทันต์
มักพบในผู้ป่วยที่มีสุขอนามัยช่องปากไม่ดี แบ่งเป็น 2 โรคที่รุนแรงต่างกัน คือ
🔸โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากมีหินปูนสะสมมาก ทำให้เหงือกอักสบรอบ ๆ ฟันอาจมีเลือดออกขณะแปรงฟัน มีกลิ่นปาก และเสียวฟัน
🔸โรคปริทันต์ เกิดจากมีหินปูนสะสมมาก แต่เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคน้อย เชื้อจึงลุกลามไปทำลายกระดูกที่รองรับฟัน ทำให้ฟันโยก ยื่นยาวผิดปกติ และมีหนองไหล รักษาด้วยการขูดหินปูนและเกลารากฟัน
5.เนื้องอกในหญิงมีครรภ์
พบในหญิงมีครรภ์ที่มีสุขอนามัยช่องปากไม่ดีเนื่องจากร่างกายจะตอบสนองต่อการระคายเคืองของหินปูนได้ไวกว่าปกติ รักษาด้วยการตัดออกและขูดหินปูน
6.เหงือกบวมเป็นตุ่มเล็ก ๆ
มีหนองไหลผ่านออกมา มักพบอยู่ใกล้ฟันผุ เป็นหลุมกว้าง มักมีอาการปวดมาก่อนเกิดจากฟันผุที่ลุกลามถึงชั้นโพรงประสาทฟันติดเชื้อจนฟันต่ายและมีหนองสะสม รักษาด้วยการรักษารากฟื้น
7.ก้อนมะเร็ง
ลักษณะฟูคล้ายดอกกะหล่ำ มีอาการบวม ชา และลุกลามอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยต้องรีบมาพบทันตแพทย์ทันที

ข้อมูล ณ วันที่ 17 กันยายน 2563
ที่มา : ทพญ.ชนิดา ว่องเดชากูล