รับมืออย่างไรให้ ปลอดภัย เมื่อ น้ำท่วม

รับมืออย่างไรให้ ปลอดภัย เมื่อ น้ำท่วม
  1. ติดตามสถานการณ์และข่าวสารน้ำท่วมจากกรมอตุนิยมวิทยาหรือการกระจายข่าวตามท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด
  2. ศึกษาสัญญาณเตือน เส้นทางอพยพ รวมถึงตำแหน่งของศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยที่ใกล้เคียงชุมชนที่พักอาศัย
  3. จดจำหมายเลขโทรศัพท์กรณีฉุกเฉิน
    • 1669 เจ็บป่วยฉุกเฉิน
    • 1784 สายด่วนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    • 1422 สายด่วนควบคุมโรค กรณีเจ็บป่วย ตลอด 24 ชั่วโมง
  4. จัดเตรียมเสบียงที่จำเป็น ได้แก่ อาหารแห้ง น้ำสะอาด ยาประจำตัว ไฟฉาย ชูชีพ
  5. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าและเคลื่อนย้ายขึ้นที่สูงในกรณีที่สามารถทำได้ ตัดวงจรไฟฟ้า ปิดน้ำ และปิดแก๊สภายในบ้าน
  6. นำสิ่งของที่อาจถูกกระแสน้ำพัดไปได้มาเก็บไว้ภายในบ้าน และผูกยึดไว้ไว้กับเสาหรือสิ่งมั่นคง
  7. ระวังสัตว์เลื้อยคลานและแมลง
  8. เมื่อร่างกายมีบาดแผล
    • หากเป็นแผลเปิด พยายามอย่าให้บาดแผลสัมผัสกับน้ำท่วม
    • เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มาก ควรใช้พลาสเตอร์ปิดแผลกันน้ำและรักษาความสะอาด
    • กรณีที่แผลบวม แดง มีหนอง ให้รีบพบแพทย์
  9. ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ
  10. อย่าขับรถหรือเดินฝ่ากระแสน้ำบริเวณน้ำท่วมและห้ามให้เด็กลงเล่นน้ำท่วมเพราะเสี่ยงต่อการถูกน้ำพัด

ข้อมูล ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2564
ที่มา : อ. นพ.นรวิชญ์ กิจไพศาลรัตนา

Nová online kasina s bonusem bez vkladu, doporučená Betzoidem