ยาเสื่อมสภาพ สังเกตได้อย่างไร
ยาผงสำหรับเด็ก (oral powder) เมื่อผสมแล้วยาไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ควรใช้ หรือถ้าเก็บยาไว้ในที่ร้อน หรือเลยวันหมดอายุ ก็ไม่ควรใช้ เพราะยาอาจหมดฤทธิ์ในการรักษา
ยาน้ำทั่วไป (oral solution) หากมีสี กลิ่น รส ความใส เปลี่ยนไปจากเดิม ไม่ควรใช้อีกต่อไป
ยาน้ำแขวนตะกอน (suspension) มีตะกอนที่ก้นขวด ตะกอนจับตัวเป็นเกล็ดหรือเป็นก้อนยามีการแยกชั้น ควรทิ้งทันที
ยาเม็ด (tablet) มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เช่น แอสไพรินเสื่อมสภาพจากการได้รับความชื้น ยาที่สีเปลี่ยนไป สีที่เคลือบเม็ดยาเป็นรอยแตก เม็ดยานิ่มกว่าเดิม หรือแตกร่วน ห้ามนำมาใช้
ยาแคปซูล (capsule) เม็ดมีลักษณะยิ้ม เม็ดบวม บุบ หรือแตก แสดงว่ายาเสื่อมสภาพ ไม่ควรใช้
ยาครีม ยาทาภายนอก (crcam , ointment) มีลักษณะแห้ง หรือใสกว่าปกติ จับตัวเป็นก้อนหรือเป็นผงตะกอนสัมผัสกับผิงหนังแล้วมีความสาก ควรทิ้งไป
“ควรสังเกดลักษณะยาก่อนใช้ยาทุกครั้ง”
ข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน 2561
ที่มา : ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล