ถ่ายพยาธิทุกปีจำเป็นหรือไม่
ไม่ควรใช้ยาถ่ายพยาธิโดยไม่จำเป็น เนื่องจากยาถ่ายพยาธิมีฤทธิ์ในการรักษาการติดเชื้อพยาธิซึ่งเป็นปรสิตที่มีหลากหลายชนิด จึงควรรับประทานยาถ่ายพยาธิให้ตรงกับชนิดของพยาธิที่มีอยู่ในร่างกาย
ชนิดของพยาธิ
- พยาธิตัวกลม เช่น พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า พยาธิตัวจี๊ด และพยาธิเส้นด้าย
- พยาธิตัวตืด เช่น พยาธิตืดหมู พยาธิตืดวัว
- พยาธิใบไม้ เช่น พยาธิใบไม้ในตับ
อาการที่พบเมื่อมีพยาธิในร่างกาย
- พยาธิในทางเดินอาหาร : อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหิวบ่อย น้ำหนักลด โลหิตจาง ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย คันบริเวณทวารหนัก
- พยาธิที่ไชอยู่ใต้ผิวหนัง : ทำให้เกิดรอยทางเดินของพยาธิที่ผิวหนัง หรือมีก้อนบวมแดงที่ย้ายที่ไปเรื่อย ๆ
- พยาธิที่ไขไปที่กล้ามเนื้อ : ทำให้มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- พยาธิที่ไขไปที่สมอง : ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นใส้อาเจียน ตาพร่ามัว ชัก
- พยาธิใบไม้ในตับ : ทำให้มีอาการปวดใต้ชายโครงขวาตาเหลือง ตัวเหลือง
- พยาธิใบไม้ในปอด : ทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ไอ มีเสมหะเป็นสีสนิมเหล็ก หรือไอออกเลือด
คำแนะนำจากแพทย์
ไม่ควรใช้ยาถ่ายพยาธิเป็นประจำทุกปี หรือเพียงเพราะมีรูปร่างผอม แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัด โดยแพทย์จะพิจารณาส่งตรวจอุจจาระ หรือตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เพื่อให้การวินิจฉัยถึงชนิดของพยาธิ และทำการรักษาอย่างถูกต้อง
ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2564
ที่มา : ศ. ดร. นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร