ดูแล “แม่ตั้งครรภ์” อย่างไร ให้ “คลายร้อน”
โดยปกติการตั้งครรภ์ทำให้ความร้อนของร่งกายสูงขึ้น ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของเลือดหรือการสูบฉีดเลือด มดลูกที่โตขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ในช่วงหน้าร้อนที่อุณหภูมิสูงขึ้นจึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ ได้แก่ ผื่น อาการขาดสารนำ้ ร่างกายอ่อนล้า ตะคริว
การดูแลตนเอง
- ดื่มน้ำสะอาดให้มากเพียงพอ
- รับประทานอาหารที่ไม่ร้อน เช่น น้ำซุปเย็น ผักหรือผลไม้สด น้ำผลไม้ ของหวานเย็น
- รับประทานผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น แตงโม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ
- สวมเสื้อผ้าโปร่งสบาย สวมรองเท้าที่เปิดเท้าบ้าง
- ไม่ควรสวมแหวนหรือกำไลมือที่รัดแน่น
- อยู่ในพื้นที่ร่ม หรืออากาศโปร่ง
- พยายามเคลื่อนไหวให้ช้าลง ถือสิ่งของให้น้อยลง
- ลดการเดินทาง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เพราะทำให้ความดันโลหิตและอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแดด ควรว่ายน้ำแทน
- หลีกเลี่ยงการปล่อยให้ศีรษะถูกแสงแดดส่องเป็นเวลานาน
หากรู้สึกไม่สบายตัว อ่อนเพลีย มึนงง หรือเป็นตะคริว ควรหยุดพักและดื่มน้ำเพื่อทำให้ร่างกายย็นลง หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเจ็บครรภ์ควรรีบพบแพทย์ทันที
ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2562
ที่มา : รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ