ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ช่วงวัยจริญพันธุ์จนถึง 19 ปี มีสถิติสูงขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากความพลาดพลั้งและการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน จึงไม่มีความพร้อม
ปัญหาและภาวะแทรกซ้อน
ทารก
- ทารกโตช้าในครรภ์
- การคลอดก่อนกำหนด
- ภาวะโลหิตจางในทารก
- อัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์เพิ่มขึ้น
มารดา
- ความดันโลหิตสูง/ครรภ์เป็นพิษ
- มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน หรือ การทำแท้งผิดกฎหมาย
- ปัญหาทางด้านสุขภาพ เพราะมีการพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ยังไม่สมบูรณ์
- ปัญหาด้านจิตใจ เช่น ความครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า
คำแนะนำ
- ฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุเสริมครบตามกำหนด
- เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ป้องกันและรักษาโดยทันที
- หากเกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นขึ้นแล้ว บุคคลรอบข้างควรทำความเข้าใจและเห็นใจ ตลอดจน ให้กำลังใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ และดูแลการตั้งครรภ์ให้เหมาะสม
การพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยให้ความรู้ด้านเพศศึกษาที่จำเป็นแก่กลุ่มวัยรุ่นให้ทั่วถึง เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
ข้อมูล ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2562
ที่มา : รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ