การเตรียมตัวของอาสาสมัครที่ฉีดวัคซีนโควิด-19
ระยะแรก การประเมินตนเองก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
- หากมีไข้หรือเจ็บป่วย ควรรอให้อาการบรรเทาลงก่อนอย่างน้อย 2 วัน
- หากมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง รับประทานยา
- กดภูมิต้านทาน หรือยาชนิดอื่น ๆ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนฉีดวัคซีน
- ไม่ควรกินยาแก้ไข้หรือยาแก้ปวดก่อนเข้รับการฉีดวัคซีน เนื่องจากยาอาจไปกดภาวะการอักสบ ทำให้การตอบสนองของวัคซีนลดลง
ระยะที่สอง ขณะเข้ารับการฉีดวัคซีน
- ประเมินตนเองอีกครั้งหนึ่งว่มีไข้หรือไม่ โดยทั่วไปแพทย์และพยาบาลจะวัดไช้ก่อนเข้รับการฉีดวัคซีนทุกครั้ง
- ตรวจสอบตนเองในวันที่เข้รับการฉีดวัคซีนว่ารับประทานยาอะไรบ้างและควรแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอ
ระยะที่สาม หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน
- แม้ว่าโดยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ควรสังเกตอาการข้างเคียงที่โรงพยาบาลก่อนกลับบ้านอย่างน้อย 15 นาที
- เมื่อกลับบ้านแล้วอาจพบว่ามีผลข้างเคียงกิดขึ้น เช่น มีลมพิษ ปวด บวมบริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ต่ำ ๆ ซึ่งหลังจากได้รับวัคซีนครึ่งชม. ถึง 2 ชม. อาการจะค่อย ๆ ลดลง แต่ถ้ไข้ขึ้นสูงมากควรกลับมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ
- หลังจากรับการฉีดวัคซีนแล้ว 3 วัน โอกาสแพ้และผลข้างเคียงจากวัคซีนจะพบน้อยมากหรือน้อยกว่า 1 ในล้าน ซึ่งควรสังเกตอาการต่อไปเรื่อย ๆ จนครบ 60 วัน โดยจากการศึกษาพบว่าหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 60 วัน จะมีโอกาสกิดผลข้างเคียงน้อยมาก
แม้จะได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว ยังคงต้องเคร่งครัดมาตรการการสวมหน้ากากอนามัย การใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ และการวนระยะห่างระหว่างบุคคล เพื่อลด์โอกาสการรับเชื้อจนกว่าโรคระบาดจะสงบจริง
ข้อมูล ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ที่มา : ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม