การนอนกรนสู่ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ

การนอนกรนสู่ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ภาวะกรนคืออะไร ทำไมคนถึงกรน ?
ขณะนอนหลับกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่ทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจจะคลายตัว และกลกกระตุ้นการหายใจจะลดลง ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนมีลักษณะแคบกว่าเดิม ภาวะดังกล่าว เมื่อร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น ลิ้นตกลงไปในทางเดินหายใจ มีก้อนในทางเดินหายใจ จะทำให้กิดเสียงกรนขึ้น และในบางภาวะเสียงกรนอาจดังกว่าปกติได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์หรือรู้สึกเพลียมากในบางราย การกรนอาจเกี่ยวกับท่านอน เช่น การนอนหงาย
หากทางเดินหายใจส่วนบนมีขนาดแคบลงถึงจุดหนึ่ง จะกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจขึ้นทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจได้ เสียงกรนของผู้ป่วยที่ดังอย่างต่อเนืองจะเงียบหายไปป็นช่วง ๆ เนื่องจากไม่มีลมผ่านเข้าไปในปอด ถ้าการอุดกั้นเกิดขึ้นสักระยะหนึ่ง จะทำให้เกิดภาวะขาดออกชิเจนในเลือด หัวใจเต้นเร็วจนทำให้ผู้ป่วยตื่นและคุณภาพของการนอนหลับลดลง ทำให้มีอาการง่วงเวลากลางวัน
แนวทางการรักษา
1. รักษาโดยทั่วไป เช่น พยายามลดน้ำหนัก ปรับสุขนิศัยการนอนให้หมาะสม งดการดื่มสุรา หรือแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน
2. การใช้เครื่องช่วยหายใจผ่านทางหน้ากากระหว่างการนอน (Continuous Positive Airway Pressure, CPAP) โดยผู้ป่วยจะเป็นผู้ใส่อุปกรณ์นี้เวลานอนหลับด้วยตนเอง
3. การใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม (Dental Appliance) เพื่อช่วยให้ช่องทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้นขณะนอนหลับ วิธีนี้มักจะได้ผลไม่ดีนัก เลือกใช้ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง
4. การผ่าตัด พบว่าจะช่วยรักษาอาการกรนได้ดี แต่สำหรับการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผลที่ได้จากการผ่าตัดยังไม่แน่นอน ดังนั้นจึงควรมีการพิจารณาเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเป็นราย ๆ ไป และปรึกษาแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง

ข้อมูล ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2563
ที่มา : รศ. นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์