ขั้นตอนในการดำเนินการของโรงพยาบาล หลังจากการรับร่างผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์มาแล้ว

ถาม หลังจากรับร่างผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์มาที่โรงพยาบาลฯ แล้ว มีขัน้ ตอนใน การดำเนินการอย่างไร?
ตอบ เมื่อได้รับแจ้งจากทายาทผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์มาแล้ว มีขนั้ ตอนการปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อเจ้าหน้าที่รับร่างผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์ มาแล้ว จะลงทะเบียนรหัสของผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์ แล้วนาเข้าสู่กระบวนการรักษาสภาพ ซึ่งใช้เวลาในการรักษาสภาพอย่างน้อย 6 เดือน จึงจะสามารถนาไปใช้เพื่อการศึกษาได้
2. เจ้าหน้าที่จะใช้น้ายารักษาสภาพร่างผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์เหมาะสมดีแล้ว จึงนาร่างผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์มาศึกษา ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ปี
3. ภาควิชาฯ จะทาหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการทันที่ เมื่อเริ่มนาร่างมาศึกษา ถ้ายังไม่ได้รับการติดต่อแจ้งไป แสดงว่ายังไม่ได้นาร่างมาศึกษา
4. หลังจากนาร่างผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์ (อาจารย์ใหญ่) มาศึกษาเรียบร้อยแล้ว โรงพยาบาลฯ จะติดต่อแจ้งทายาท ให้ทราบ เมื่อญาติได้รับหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการ ญาติควรเตรียม รูปถ่าย 1-2 นิ้ว เขียนประวัติ คาไว้อาลัย เพื่อที่นิสิตจะได้ติดต่อนามาลงในหนังสือ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพประจาปีการศึกษา
5. ทายาทสามารถแจ้งความประสงค์ในการดาเนินการได้ตามความประสงค์ คือ
– ทายาทอาจขอรับไปบาเพ็ญกุศล เมื่อศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
– ทายาทอาจมอบให้โรงพยาบาลดาเนินการ โดยโรงพยาบาลฯ จะจัดพิีี
พระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (เป็นกรณีพิเศษ) เป็นประจำทุกปี

ถาม ร่างผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์ มาที่โรงพยาบาลฯ แล้ว นา้ ยาฉีดรักษาสภาพร่างฯ ที่โรงพยาบาลฯ ฉีดทาให้ศพนิ่มใช่หรือไม่?
ตอบ เนื่องจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้มีการพัฒนาน้ายารักษาสภาพได้ใหม่ จึงสามารถฉีดน้ายาเพื่อเตรียมร่างฯ ได้ 2 แบบคือ
1. น้ายารักษาสภาพร่างฯ แบบทวั่ ไป ที่ใช้ในสถาบันโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ซึ่งเหมาะ สาหรับการใช้เพื่อ
การศึกษาของนิสิตแพทย์ ที่ต้องใช้เวลาในการใช้ร่างฯ เพื่อการศึกษา แบบต่อเนื่องในระยะ
เวลานานๆ ซึ่งสภาพของเนื้อเยื่อจะแข็งกว่าปกติเล็กน้อย
2. น้ายารักษาสภาพแบบพิเศษ ซึ่งจะรักษาสภาพเนื้อเยื่อให้นิ่ม เหมือนคนปกติซึ่งเหมาะ สาหรับการ
ฝึกผ่าตัด ทาหัตถการเพิ่มทักษะความชานาญของแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งสามารถ นาความรู้จากการ
ฝึกผ่าตัด ไปช่วยรักษาผู้ป่วยได้ทันทีนับว่าเป็นประโยชน์ทางการศึกษาทางการแพทย์อย่างมาก

ถาม ร่างฯ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาด้านการแพทย์ 1 ท่าน สามารถให้ความรู้แก่นิสิตแพทย์ได้ กี่ คนสภาพร่างกายหลังจากเรียนแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง?
ตอบ อาจารย์ใหญ่ 1 ท่าน สามารถให้ความรู้แก่นิสิตได้ 6 คน ส่วนสภาพร่างกายของท่านผู้อุทิศร่างกายเมื่อนิสิตแพทย์ได้ศึกษาทุกส่วน เพื่อดูกล้ามเนื้อ เส้นเลือด เส้นประสาทและอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เมื่อศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว นิสิตแพทย์จะรวบรวม และเรียบเรียงอวัยวะทุกส่วนมาประกอบ
กันเป็นรูปร่าง เพื่อมัดตราสังให้มีลักษณะเหมือนร่างกายคนทั่วไป

ถาม ในกรณีหลังจากศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากทาง โรงพยาบาลฯ ฌาปนกิจศพให้ จะแยกรับอัฐิได้หรือไม่ หากไม่แยกรับอัฐิ โรงพยาบาลฯ จะดำเนินการอย่างไร?
ตอบ เมื่อนิสิตแพทย์ศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โรงพยาบาลฯ จะแยกอาจารย์ใหญ่ 1 ท่าน ต่อ 1 หีบเพื่อฌาปนกิจ หากญาติไม่ประสงค์จะรับอัฐิ โรงพยาบาลฯ จะนาอัฐิไปลอยอังคารให้ ตามประเพณี

ถาม ในกรณีหลังจากศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากทาง ญาติสามารถนาไป ฌาปนกิจศพได้หรือไม่ และจะขอพระราชทานเพลิงศพได้หรือไม่ และขอให้นิสิตแพทย์ไปร่วมงานพิธี ได้หรือไม่?
ตอบ เมื่อนิสิตแพทย์ศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ญาติสามารถขอแยกร่างไปฌาปนกิจศพเองได้ ส่วนการพระราชทานเพลิงศพ(เป็นกรณีพิเศษ) โรงพยาบาลฯ จะจัดทำเอกสารให้ญาติไปดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพให้อาจารย์ใหญ่ (ซึ่งต้องแจ้งความจานงล่วงหน้า) สำหรับการขอให้นิสิตแพทย์ไปร่วมพิธีนี้สามารถเชิญไปร่วมงานได้ โดยติดต่อโดยตรงกับนิสิตแพทย์ในกลุ่มที่เรียนอาจารย์ใหญ่ท่านนั้นๆ