โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA)
pacharin_s
Posted in ความรู้สุขภาพ

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA)

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA) คุณกรนหรือไม่? เสียงกรนบ่งบอกถึงทางเดินหายใจส่วนบนได้แก่บริเวณลำคอนั้นแคบกว่าปกติ เสียงกรนจึงเกิดจากการพยายามออกแรงหายใจเข้าผ่านทางเดินหายใจที่แคบนั่นเอง พบว่าประมาณ 10-30% ของผู้ใหญ่มีการกรน โดยการกรนส่วนใหญ่อาจไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ตามมา อย่างไรก็ตาม เสียงกรนที่ดังถือว่าเป็นสัญญาณว่ามีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจที่อาจเป็นอันตรายเกิดขึ้นระหว่างที่นอนหลับ ได้แก่ โรคนอนหยุดหายใจชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) โรคนอนหยุดหายใจชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) คืออะไร? ในขณะที่เรานอนหลับ กล้ามเนื้อที่คอยทำหน้าที่ตึงตัวและช่วยขยายทางเดินหายใจในช่องคอจะหย่อนตัวลง ซึ่งภาวะนี้เองทำให้ทางเดินหายใจแคบลง แต่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในเด็กหรือคนทั่วไป แต่ในผู้ป่วย OSA ทางเดินหายใจจะตีบแคบลงมาก ทำให้การหายใจลำบากขึ้น สมองจะรับรู้ภาวะนี้และสั่งการให้เพิ่มแรงในการหายใจ สิ่งนี้จะกระตุ้นให้สมองตื่นเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อช่องคอกลับมาตึงตัวและเปิดทางเดินหายใจอีกครั้ง ซึ่งวงจรเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆ นับสิบหรือถึงร้อยครั้งในแต่ละคืน ทำให้รบกวนการนอนหลับและส่งผลให้สมองไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอขณะนอนหลับ เมื่อไรที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรค OSA? 1. เสียงกรนที่ดังแม้กระทั่งปิดประตูยังได้ยิน 2. ลักษณะของการกรนแล้วหยุดเป็นพักๆ ตามด้วยเหมือนอาการสำลักขณะนอนหลับ หรือมีผู้สังเกตเห็นว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ 3. ภาวะง่วงนอนผิดปกติ เช่น ขณะทำงานหรือหลับในขณะขับรถ 4. ไม่มีสมาธิ ขี้ลืม 5. […]

นอนกรนอันตรายจริงหรือไม่
pacharin_s
Posted in ความรู้สุขภาพ

นอนกรนอันตรายจริงหรือไม่

นอนกรนอันตรายจริงหรือไม่ การนอนกรนพบได้บ่อยอย่างที่เราทราบกันดี นอกจากการกรนนั้นจะรบกวนคนข้างเคียงแล้วการกรนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เนื่องจากอาการกรนอาจเป็นอาการของโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea) โรคนี้เกิดจากการที่ระบบหายใจส่วนบนมีการอุดกั้น ทำให้ไม่มีลมหายใจผ่านเข้าออก โรคนี้พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง พบในผู้ชายประมาณ 4% และผู้หญิงประมาณ 2% เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงเชื่อว่าลดการเกิดโรคนี้ ทำให้หลังวัยหมดประจำเดือนแล้วโอกาสเกิดโรคนี้ของผู้หญิงและผู้ชายจึงกลับมาเท่าๆกัน ในเด็กนั้นพบโรคนี้มากในช่วงอายุ 3-5 ปี และลดลงในช่วงเข้าวัยรุ่น จากนั้นโอกาสเกิดโรคจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าวัยกลางคน เมื่อเทียบกับชนชาติอื่นแล้ว ชนชาติเอเชียพบว่าเป็นโรคนี้มากกว่าคนผิวขาว สงสัยกันว่าที่คนเอเชียเป็นโรคนี้กันมากเนื่องจากโครงสร้างของกระดูกขากรรไกรที่เล็กและค่อนไปทางด้านหลังซึ่งทำให้ช่องการหายใจแคบ ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสเกิดโรคนี้ได้แก่ น้ำหนักมาก, ขนาดคอใหญ่ (มากกว่า 17 นิ้วในผู้ชายและ 16 นิ้วในผู้หญิง), ลิ้นใหญ่, เพดานอ่อนต่ำ หรือลิ้นไก่ใหญ่, กระดูกคางที่เล็กหรือค่อนไปด้านหลัง, ลักษณะผิดปกติของโครงสร้างจมูก เช่น ลักษณะของจมูกที่แคบ, แผ่นกั้นจมูกเบี้ยว, เนื้องอกในจมูก, กระดูกอ่อนในจมูกใหญ่ หรือ อาการคัดจมูกเรื้อรัง, โรคบางโรค เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย, โรคความผิดปรกติในระบบประสาทและกล้ามเนื้อ, โรคเส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน, ภาวะหมดประจำเดือน เป็นต้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงในเด็กนั้นแตกต่างจากผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ได้แก่ ต่อมทอนซิลหรือ ต่อมอะดีนอยโต […]

การตรวจการนอนหลับคืออะไร
pacharin_s
Posted in ความรู้สุขภาพ

การตรวจการนอนหลับคืออะไร

การตรวจการนอนหลับคืออะไร โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea, OSA) เป็นโรคที่เกิดจากการยวบตัวของทางเดินหายใจส่วนต้นจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจส่วนต้น (upper airway muscle dilator) ขณะหลับ  ทำให้มีการลดลง (hypopnea) หรือขาดหายไป (apnea) ของลมหายใจเป็นพักๆ โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea, OSA) เป็นโรคที่เกิดจากการยวบตัวของทางเดินหายใจส่วนต้น จากการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจส่วนต้น (upper airway muscle dilator) ขณะหลับ  ทำให้มีการลดลง (hypopnea) หรือขาดหายไป (apnea) ของลมหายใจเป็นพักๆ  เมื่อไม่สามารถหายใจเอาอากาศเข้าร่างกายได้ตามปกติจึงเกิดการพร่องออกซิเจนในเลือด (hypoxia)  การคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (hypercapnea) และการเพิ่มแรงที่ใช้ในการหายใจ (increased intrathoracic pressure) ในขณะหลับขึ้นอย่างมาก  เมื่อถึงจุดหนึ่ง  ร่างกายจะตอบสนองด้วยการเกิดการตื่นเร้า (arousal) ขึ้นของสมอง เพื่อให้upper airway muscle dilator กลับมาทำหน้าที่เปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น และกลับมาหายใจใหม่ได้ตามปกติอีกครั้ง  แต่เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะหลับอีกครั้ง  […]