ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
pacharin_s
Posted in ความรู้สุขภาพ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น สัมภาษณ์ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น :: อ.พญ. นฤชา จิรกาลวสาน

สุขลักษณะการนอนที่ดี
pacharin_s
Posted in ความรู้สุขภาพ

สุขลักษณะการนอนที่ดี

สุขลักษณะการนอนที่ดี บทความโดยคณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์(ดัดแปลงจากบทความของสมาคมแพทย์โรคจากการหลับแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา)

GOOD SLEEP BETTER LIFE….นอนหลับดี ชีวิตดี สุขภาพดี
pacharin_s
Posted in ความรู้สุขภาพ

GOOD SLEEP BETTER LIFE….นอนหลับดี ชีวิตดี สุขภาพดี

GOOD SLEEP BETTER LIFE….นอนหลับดี ชีวิตดี สุขภาพดี คุณต้องการตื่น เมื่อนาฬิกาปลุกจะตื่นขึ้นมาในตอนเช้าหรือไม่? คุณพบว่ามันยากที่จะลุกออกจากเตียง หรือตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกหงุดหงิดหรือเครียดหรือเปล่า? คุณมักจะเหนื่อยในระหว่างวันหรือไม่? หากคุณมีปัญหานอนยาก หรือมีความรู้สึกเหนื่อยและง่วงนอนมากในตอนกลางวัน คุณอาจจะมีความผิดปกติของการนอนหลับ การนอนหลับที่ดี เป็นขั้นตอนแรกในการมีชีวิตที่ดี เพราะฉะนั้น การกำจัดปัญหาของการนอน จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคุณ มีหลายปัจจัยที่สามารถมีอิทธิพลต่อปัญหาการนอนเช่นอาการเจ็บป่วยทางการแพทย์ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ หรือแม้แต่ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมของคุณ เช่น เสียง ความสะดวกสบายของเตียงนอน ฯลฯ ตารางการทำงานที่ผิดปกติหรือการเดินทางบ่อยครั้งอาจมีผลกระทบต่อรูปแบบการนอนหลับปกติของคุณ ปัจจุบันมีการรักษาสำหรับปัญหาการนอนแทบทุกประเภท แต่ขั้นแรกของการรักษา คือการตระหนักว่ากำลังมีปัญหาอยู่ ขั้นตอนที่สองคือการพิจารณาว่า สิ่งใดที่ทำให้เกิดปัญหา และขั้นตอนที่สามคือการรักษาที่สาเหตุ บทความนี้จะกล่าวถึงปัจจัยทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่อาจทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับ พฤติกรรมการดำรงชีวิต “การเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมนั่งเล่นหรือห้องนอนของคุณสามารถนำไปสู่ปัญหาการนอนได้” คุณใช้ชีวิตแบบไหน และออกกำลังกายอย่างไร ? ทุกคนรู้ว่าการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถทำให้การนอนหลับดี แต่ทราบหรือไม่ว่า คุณควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายภายในสองชั่วโมงก่อนที่จะเข้านอน? การออกกำลังกายที่ใกล้เวลานอนสามารถกระตุ้นให้คุณตื่นตัว และนอนไม่หลับ มีการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายระหว่าง 4-6 ชั่วโมงก่อนที่จะเข้านอนจะมีผลดีมากที่สุดในการนอนหลับ นิสัยการกินดื่มของคุณเป็นอย่างไร ? 1. หากคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คุณอาจไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว มันรบกวนการนอนหลับของคุณ แม้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขั้นต้นอาจทำให้ง่วง และหลับได้ […]

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA) กับการผ่าตัด
pacharin_s
Posted in ความรู้สุขภาพ

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA) กับการผ่าตัด

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA) กับการผ่าตัด ผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่จะต้องผ่าตัดโดยการดมยาสลบอาจเกิดปัญหาต่างๆได้ ตั้งแต่เริ่มดมยาสลบ ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด เมื่อเริ่มผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับยาทำให้หลับทางเดินหายใจอาจเกิดการอุดกั้นได้ การใส่ท่อช่วยหายใจทำได้ยากกว่าปกติอาจเกิดอันตรายได้ คืนก่อนผ่าตัดผู้ป่วยอาจนอนไม่หลับส่งผลให้โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นรุนแรงขึ้นได้ การผ่าตัดที่ส่งผลต่อโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น การผ่าตัดบริเวณทางเดินหายใจ อก และท้องอาจทำให้ปัญหาการหายใจหลังผ่าตัดแย่ลงได้ ตัวอย่างการผ่าตัดทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ ผ่าตัดเพดานอ่อนและช่องคอ ผ่าตัดทอนซิล ผ่าตัดอะดีนอยด์ ผ่าตัดลิ้น ผ่าตัดกล่องเสียง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น – อ้วน – เพศชาย – อายุมากกว่า 65 ปี – หญิงวัยหมดประจำเดือน – มีประวัติโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นในครอบครัว ปัจจัยที่ทำให้โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นอาการแย่ลง – การใช้ยานอนหลับเป็นประจำ – เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ – การอดนอน – การนอนหงาย – ภูมิแพ้และไซนัสอักเสบ – โรคทางระบบประสาท ผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นหากต้องผ่าตัดโดยการดมยาสลบควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากใช้เครื่องอัดแรงดันบวก (Continuous Positive Airway Pressure: […]

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (RESTLESS LEGS SYNDROME: RLS) และโรคภาวะขากระตุกขณะหลับ (PERIODIC LIMB MOVEMENT DISORDER: PLMD)
pacharin_s
Posted in ความรู้สุขภาพ

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (RESTLESS LEGS SYNDROME: RLS) และโรคภาวะขากระตุกขณะหลับ (PERIODIC LIMB MOVEMENT DISORDER: PLMD)

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (RESTLESS LEGS SYNDROME: RLS) และโรคภาวะขากระตุกขณะหลับ (PERIODIC LIMB MOVEMENT DISORDER: PLMD) คุณเคยมีอาการเหล่านี้ไหม อาการเหล่านี้เป็นอาการที่แปลกประหลาด และพบบ่อยในผู้ป่วยกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS) กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome: RLS) โรคนี้พบได้ในผู้มีสุขภาพแข็งแรง แต่บางครั้งพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคซีด เป็นต้น โดยทำให้การนอนและคุณภาพชีวิตแย่ลง นอนหลับยาก โรคนี้มักมีอาการที่ขาแต่สามารถเกิดขึ้นกับส่วนอื่นๆได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีตัวอะไรมาไต่ที่ขา มักไม่มีอาการเจ็บปวดหรือชา แต่ในบางรายอาจมีอาการปวดได้ นอกจากความง่วงตอนกลางวัน ยังมีปัญหาในเรื่องรบกวนในการเดินทาง ทางรถ เรือ หรือเครื่องบิน ที่ต้องใช้เวลานานและนั่งอยู่เฉยๆ เพราะผู้ป่วยจะทนอยู่นิ่งไม่ได้ อาการจะมีอยู่ไม่ว่าจะอยู่ในห้องเรียน โรงภาพยนต์ ฟรือห้องประชุม ซึ่งอาจนำไปสู่ถาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลได้ โรคภาวะขากระตุกขณะหลับ (Periodic Limb Movement Disorder: PLMD) มีอาการขยับขาขณะหลับ คุณภาพการนอนและความสามารถในการทำงานลดลง ต่างจาก RLS ที่โรคนี้ไม่มีอาการที่รู้สึกว่ามีตัวอะไรมาไต่ที่ขา หรืออยากขยับขา […]