การตรวจทางปรสิตวิทยา
ตรวจทางปรสิตวิทยา ให้บริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ของสิ่งมีชีวิตจำพวกโปรโตซัว และพยาธิต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ โดยให้คำแนะนำและตรวจรักษาผู้ป่วยโรคปรสิต ได้แก่
- การตรวจอุจจาระ (Routine stool examination) เป็นการตรวจวินิจฉัยหาเชื้อปรสิตทั้งโปรโตซัวและหนอนพยาธิ ด้วยวิธี simple smear และ วิธี concentration technique โดยรายงาน Genus species พร้อมบอกระยะของเชื้อ
- การตรวจหาเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร (ICT for occult blood)
- การตรวจหาไขมันในอุจจาระ (Stain for fat)
- การตรวจหาพยาธิโรคเท้าช้างในเลือดหลังการให้ยา DEC (Microfilaria after DEC treatment [6 mg/kg] single dose)
- การตรวจหาพยาธิโรคเท้าช้างในเลือด (Thin and Thick blood films for microfilaria)
- การตรวจหาเชื้อมาลาเรียในเลือด (Thin and Thick blood films for malaria)
- การตรวจหาพยาธิเข็มหมุดโดยวิธีสก๊อตเทป (Scotch tape technique)
- การตรวจพิเศษทางปรสิตวิทยา เช่น
การเพาะเชื้อหนอนพยาธิและโปรโตซัวชนิดต่างๆ
การย้อมสีโปรโตซัวชนิดต่างๆ
การจําแนกชนิดของปรสิต เช่น ตัวพยาธิ ตัวแมลง (Parasite Identification)
การตรวจวิทยาภูมิคุ้มกัน เช่น การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อหรือการตรวจหาแอนติบอดี ที่จําเพาะต่อการติดเชื้อ
การตรวจทางอณูชีววิทยา เช่น การตรวจหาสารพันธุกรรมของโปรโตซัวชนิดต่างๆ โดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR)
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
- ผู้ป่วยควรกรอกข้อมูลสำคัญในใบส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของฝ่ายปรสิตวิทยา (ใบสีเทาขนาด A4 หมายเลข บ.6329) เช่น ชื่อ-สกุล เพศ อายุ ชนิดสิ่งที่ส่งตรวจโดยระบุวันเวลาที่เก็บสิ่งส่งตรวจ โรคที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย หมายเลขโทรศัพท์ ชื่อแพทย์ผู้ส่งตรวจพร้อมรหัสแพทย์ รวมถึงข้อมูลสำคัญทางการแพทย์อื่นๆ และเลือกทำเครื่องหมาย ✓ให้ชัดเจนในช่องด้านหน้าของรหัสรายการทดสอบ
- เก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจ ดังนี้
- อุจจาระ
ตามมาตรฐานสากลการเก็บอุจจาระเพื่อส่งตรวจ (Stool examination) กำหนดให้ผู้ป่วยเก็บอุจจาระ 3 วัน หากผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายอุจจาระติดต่อกัน 3 วัน ก็สามารถเก็บอุจจาระวันเว้นวัน หรือวันที่ถ่ายได้ แต่ต้องเก็บให้ได้ 3 วัน ตลอดช่วงเวลาไม่เกิน 10 วัน
- การเก็บไข่พยาธิเข็มหมุดด้วยวิธีสก๊อตเทป (Scotch tape technique)
ให้เก็บตัวอย่างหลังผู้ป่วยตื่นนอนก่อนผู้ป่วยอาบน้ำชำระร่างกายมิเช่นนั้นไข่จะถูกชะล้าง ออกหมด หากการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดมีจำนวนน้อยควรตรวจติดต่อกัน 3 วัน เป็นอย่างน้อยเนื่องจาก พยาธิตัวเมียอาจไม่วางไข่ทุกวัน
- ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจอื่นๆ เช่น หนอง เลือด เสมหะ น้ำล้างปอด แพทย์จะเป็นผู้ดำเนินการเก็บสิ่งส่ง ตรวจให้โดยผู้ป่วยไม่ต้องเตรียมตัวเพิ่มเติม
ระยะเวลาในการรอรับผล
ขึ้นอยู่กับชนิดและรายการส่งตรวจ โดยสามารถรอผลได้ตั้งแต่ 20 นาที ไปจนถึง 7 วัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการตรวจทางปรสิตวิทยา ได้ที่
1.ห้องปฏิบัติการ อาคาร ภปร ชั้น 4 ห้องหมายเลข 14
เวลาทำการ 8.00 – 15.30 น.
โทรศัพท์ 02 256 5386
รับสิ่งส่งตรวจจาก
– ผู้ป่วยนอก (OPD)
– ผู้รับการตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ
– หน่วยงานภายนอก เช่น โรงพยาบาลเอกชน
- อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3 Zone B ห้องหมายเลข P03F01
เวลาทำการ 8.00 – 16.00 น.
โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 80343, 80344
รับสิ่งส่งตรวจจาก
– ผู้ป่วยใน (IPD)
– ผู้ป่วยฉุกเฉิน
– ผู้ป่วยหน่วยโรคไต
– โครงการตรวจสุขภาพอื่นๆ
- คลินิกโรคปรสิต อาคาร ภปร ชั้น 2
แพทย์จากฝ่ายปรสิตวิทยาออกตรวจผู้ป่วยให้การรักษาและ รับปรึกษาโรคทางปรสิต
เวลาทำการ 8.00 – 12.00 น.
โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 5432
- ฝ่ายปรสิตวิทยา
สำนักงานหลัก อาคาร ภปร ชั้น 18
เวลาทำการ 8.00 – 16.00 น.
โทรศัพท์ 02 256 4387