เยี่ยมผู้ป่วย

กลุ่มงานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้บริการผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการฉุกเฉิน (Emergency Case) ที่ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่ามีเหตุจำเป็นให้เข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาล และผู้ป่วยที่มีนัดหมายเข้ารับการรักษาหรือเข้ารับการผ่าตัด (Electivecase)ตามแผนการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตามภาควิชาต่างๆ เช่น ศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์ สูติ-นรีเวชกรรม จักษุกรรม โสตศอนาสิกวิทยา รังสีวิทยา อายุรกรรม กุมารเวชศาสตร์ ตลอดจนผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อการรักษาจากโรงพยาบาลอื่น (Refer)

การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ควรมีการเตรียมตัวและเตรียมเอกสารตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วยให้พร้อม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับการบริการ ดังนี้

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

  1. ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ให้นำยาที่รับประทานประจำมาในวันนอนโรงพยาบาล
  2. ผู้ป่วยที่มีนัดหมายเข้ารับการผ่าตัด หากรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ให้งดรับประทาน 7 วันก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตามคำสั่งแพทย์ผู้ให้การรักษา
  3. ผู้ป่วยเตรียมบัตรประชาชน สูติบัตร (สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี) บัตรข้าราชการ สำหรับพระภิกษุให้เตรียมใบสุทธิบัตร PASSPORT หนังสือส่งตัวจากองค์กร (รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน มหาชน) หนังสือรับรองสิทธิการรักษาจากต้นสังกัดสำหรับสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งต่อ (30 บาทส่งต่อ)และประกันสังคมโรงพยาบาลอื่นส่งต่อ
  4. ผู้ป่วยและญาติเตรียมของใช้ส่วนตัวสำหรับเข้าพักในโรงพยาบาล (แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ น้ำยาสระผม หวี)
  5. เตรียมชุดสำหรับใส่กลับบ้าน
    • กรณีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาคนเดียว ไม่มีญาติผู้ป่วย สามารถติดต่อเข้ารับการรักษาได้เช่นกัน
    • กรณีผู้ป่วยชาวต่างชาติ สามารถเข้ารับการรักษาได้ หากมีความจำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ทางโรงพยาบาลจะประสานงานกับกรมการกงสุลในภายหลัง
ลำดับ สิทธิการรักษา เอกสารที่ต้องเตรียมมา
1 ข้าราชการ บัตรประจำตัวประชาชน
2 รัฐวิสาหกิจ 1.หนังสือส่งตัวจากต้นสังกัด
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3 เบิกจากต้นสังกัดอื่น 1.หนังสือส่งตัวจากต้นสังกัด
2.บัตรประจำตัวประชาชน
4 ประกันสังคมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บัตรประจำตัวประชาชน
5 ประกันสังคมส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น 1.หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด
2.บัตรประจำตัวประชาชน
6 ประกันสุขภาพถ้วนหน้า(30 บาท)โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บัตรประจำตัวประชาชน
7 ประกันสุขภาพถ้วนหน้า(30 บาท)ส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น 1.หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด
2.บัตรประจำตัวประชาชน

*กรณีเป็นเด็กอายุต่ำกว่า15 ปี จะต้องเตรียมสูติบัตรหรือบัตรประจำตัวประชาชน*

สิทธิการรักษาสำหรับผู้ป่วยใน

  1. ผู้ป่วยสิทธิข้าราชการที่ทำการเบิกจ่ายตรงอนุมัติสิทธิที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  2. ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพ (30 บาท) และประกันสังคมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  3. ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพ (30 บาท) และประกันสังคมส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น เว้นแต่มีการรักษาที่สิทธิทางต้นสังกัดไม่ครอบคลุม อันจะแจ้งให้ทราบเป็นกรณีผู้ป่วยแต่ละราย
  4. ผู้ป่วยสิทธิรัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน มหาชน
    • มีใบส่งตัวมาเพื่อรับการรักษา
    • สำรองจ่ายเพื่อเบิกจ่ายกับทางต้นสังกัดในภายหลัง
  5. ผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถใช้สิทธิประกันสังคมฉุกเฉินได้ภายใน 72 ชั่วโมง หรือสิทธิประกันสุขภาพ (30 บาท) ตีความฉุกเฉิน ตามกรณีผู้ป่วยแต่ละราย
  6. ผู้ป่วยสิทธิเงินสด

การคัดกรองผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

  1. ผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองอาการโดยพยาบาลคัดกรอง และส่งเข้ารับการตรวจรักษาตามโรค
  2. ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ หากมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล แพทย์เจ้าของไข้จะเป็นผู้ดำเนินการและบริหารจัดการเตียง
  3. ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แพทย์จะประสานกับหน่วยงานบรรจุผู้ป่วยเพื่อหาเตียงและญาติจัดการทำแฟ้มประวัติเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  4. ผู้ป่วยอาการไม่เร่งด่วน แพทย์จะนัดหมายเพื่อเข้ารับการในโรงพยาบาลภายหลัง ซึ่งผู้ป่วยและญาติจะต้องติดต่อหน่วยงานบรรจุผู้ป่วยเพื่อลงทะเบียนจองเตียง และรับการติดต่อกลับเพื่อแจ้งวันนอนพักรักษาตัว วันผ่าตัด รวมถึงการเจาะเลือดส่งตรวจและการงดยาละลายลิ่มเลือด (ในกรณีที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
หน่วยงานบรรจุผู้ป่วย (admission center)
เวลาทำการ 8.00-16.00 น. หรือเบอร์โทรศัพท์ 0-2256-4345, 4341, 4378, 4216

บริการห้องพักสำหรับผู้ป่วยในที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โดยมีรายละเอียดการเข้าพักสำหรับผู้ป่วยสิทธิการรักษาต่างๆ และราคาห้องพัก ดังนี้

ระดับห้องพัก อัตราค่าห้อง
Standard(สามัญ) 600
Deluxe(ห้องคู่) 1,500
Studio(ห้องเดี่ยว) 3,500
Superior(ห้องเดี่ยว) 5,000
Executive (ห้องเดี่ยว) 8,000
Junior Suite 10,000
Bhumisiri Suite 12,000

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
หน่วยงานบรรจุผู้ป่วย (admission center)
เวลาทำการ 8.00-16.00 น. หรือเบอร์โทรศัพท์ ( 02 ) 256 4345,
( 02 ) 256 4341, ( 02 ) 256 4378, ( 02 ) 256 4216