ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งสู่หนึ่งในผู้นำการผลิตวัคซีนโควิด-19 ของโลก


ในสถานการณ์ที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ยังคงเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ผู้คนทั่วโลกล้วนฝากความหวังไว้กับการพัฒนาและผลิตวัคซีนที่ป้องกันโรคโควิด-19 ได้จริง ซึ่งนับเป็นข่าวดีเมื่อหลายประเทศประกาศความคืบหน้าของการทดลองและผลิตวัคซีน รวมถึงประเทศไทยด้วย

โอกาสนี้ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าเรื่องการผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่ทุกคนตั้งตารอ

สถานการณ์การทดลองและผลิตวัคซีนทั่วโลก

สำหรับแผนการวิจัยในอาสาสมัครมนุษย์ ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า มีขั้นตอนการทดสอบในมนุษย์ 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 (Phase 1) เพื่อศึกษาความปลอดภัยและปริมาณวัคซีนที่ใช้ โดยจะทำการทดสอบวัคซีนในอาสาสมัครจำนวนน้อย (หลักสิบคน)
ระยะที่ 2 (Phase 2) เป็นการขยายการทดสอบในอาสาสมัครจำนวนเพิ่มมากขึ้น (หลักร้อยถึงพันคน) เพื่อยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน
ระยะที่ 3 (Phase 3) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน และติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ซึ่งต้องทดสอบในอาสาสมัครจำนวนมาก (หลักพันถึงหมื่นคน)
ทั้งนี้ จากวัคซีนจำนวน 10 รายการดังกล่าวนั้นเป็นวัคซีนจากประเทศจนี 4 รายการ วัคซีนจากประเทศสหรฐั อเมรกิ า 3 รายการ และวัคซีนจากประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ รัสเซีย เป็นต้น ซึ่ง ศ.นพ.เกียรติได้ชี้แจงรายชื่อบริษัทที่กำลังเข้าสู่การทดลองระยะที่ 3 ดังต่อไปนี้

  • บริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) จากสหรัฐอเมริกา และบริษัท ไบออนเทค (BioNTech) จากเยอรมนี ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาว่า การทดลองวัคซีนประสบความสำเร็จในกลุ่มทดลองขนาดใหญ่ โดยพบว่าวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้สูงกว่า 90% และจากการทดลองในกลุ่มตัวอย่าง 44,000 คน ไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรง
  • บริษัทโมเดอร์นา (Moderna) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศว่าวัคซีน mRNA-1273 ที่ทดลองสามารถป้องกันการก่อโรคโควิด-19 ได้มากถึง 94% หลังจากทดลองกับอาสาสมัครกว่า 15,000 คน และยังสามารถเก็บในอุณหภูมิตู้เย็น 2 – 8 °C ได้นาน 30 วัน
  • บริษัท AstraZeneca จากอังกฤษ-สวีเดน และ บริษัท Johnson & Johnson จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศความคืบหน้าการผลิตวัคซีนที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองระยะที่ 3

ความคืบหน้าการทดลองและผลิตวัคซีนในไทย

ส่วนความคืบหน้าเรื่องการทดลองและผลิตวัคซีนในไทย ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า วัคซีน mRNA ในชื่อ Chula-Cov19 ที่ผลิตโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการผลิตเพื่อทดลองในอาสาสมัคร โดยคณะทำงานได้เริ่มส่งโรงงานเพื่อผลิตในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 กระบวนการผลิตประกอบด้วย การผลิตเนื้อวัคซีน mRNA และสารเคลือบ รวมถึงการวิเคราะห์คุณภาพต่างๆ ซึ่งศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งเป้าหมายว่าการผลิตวัคซีนเต็มรูปแบบจะแล้วเสร็จในต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 และคาดว่าจะเริ่มทดลองฉีดในอาสาสมัครคนไทยระยะที่ 1 กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 เพื่อหาขนาดวัคซีนที่เหมาะสมในคนไทย และตั้งเป้าหมายที่จะทดลองในอาสาสมัครระยะที่ 2 ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ต่อไป

นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอีก 2 รายการ ได้แก่ วัคซีนที่นำใบยาสูบมาสกัดเป็นโปรตีน ผลิตวัคซีนโควิด-19 โดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด และทีมวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด DNA ของบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ซึ่งคาดว่าไม่เกินปลายปี พ.ศ. 2564 คนไทยน่าจะได้ใช้วัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดยคนไทยในประเทศไทย

อนาคตการลงทุนเพื่อสนับสนุนการผลิตวัคซีนในไทย

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า ที่ผ่านมานั้นภาครัฐได้กำหนดนโยบายในการลงทุนด้านการผลิตวัคซีนภายในประเทศ 3 นโยบายด้วยกัน ได้แก่
นโยบายที่ 1
การร่วมเป็นสมาชิกโครงการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ระดับโลก หรือ COVAX เพื่อร่วมหารือและเจรจากับนานาชาติในการต่อรองราคาวัคซีน
นโยบายที่ 2
การตั้งเป้าเป็นประเทศผู้รับจ้างผลิตวัคซีน โดยกระทรวงสาธารณสุข บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด และบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า จำกัด บริษัทผู้ผลิตชีวภัณฑ์ชั้นนำสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงในการผลิตและจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกันโควิด-19 AZD1222 ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด โดยมีข้อแม้ว่าหากดำเนินการผลิตวัคซีน จะต้องแบ่งวัคซีนส่วนหนึ่งที่ผลิตได้ไว้ให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนชาวไทยในประเทศได้ใช้ให้เพียงพอ ก่อนนำไปจำหน่ายต่อไป
นโยบายที่ 3
การลงทุนให้หน่วยงานภาครัฐ เช่น มหาวิทยาลัยร่วมมือกับภาคธุรกิจที่มีศักยภาพในการนำนวัตกรรมไปต่อยอดและผลิตวัคซีน อย่างไรก็ดีปัญหาที่ท้าทายในการลงทุนและการผลิตวัคซีนในประเทศไทยคือ ปัจจุบันยังไม่มีโรงงานขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับการผลิตจำนวนมากได้ ทำให้จำเป็นต้องหาโรงงานในต่างประเทศที่มีศักยภาพเพียงพอ รวมถึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพในห้องปฏิบัติการซึ่งต้องใช้งบประมาณมหาศาล ขณะที่ภาครัฐไม่สามารถระดมเงินทุนเพื่อสนับสนุนครั้งละจำนวนมากเพื่อการดำเนินการเช่นเดียวกับประเทศมหาอำนาจอื่นๆ หนทางที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การขอรับการสนับสนุนจากนักลงทุนภาคธุรกิจ ทั้งนี้นักลงทุนต้องเป็นบริษัทที่ไม่แสวงหาผลกำไร และการลงทุนครั้งนี้อยู่บนพื้นฐานที่ต้องการช่วยให้การพัฒนาวัคซีนในประเทศไทยประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีที่บริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ได้ร่วมการทดลองกับศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยทุ่มงบประมาณในการจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิต ขณะที่โรงพยาบาลก็ได้สรรหางบประมาณจากหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาวัคซีน อาทิ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากกองทุนวิจัยวัคซีน และผู้มีจิตศรัทธาต่างๆ ซึ่ง ศ.นพ.เกียรติ ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาการจัดการโรคระบาดในประเทศไทยมีจุดแข็งคือ การให้ระบบสาธารณสุขเป็นผู้นำในการจัดการโรคระบาด และยังมีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่เข้มแข็ง ขณะที่การวิจัยและพัฒนาของทีมนักวิจัยไทยก็มีศักยภาพในระดับโลก และจากความคืบหหน้าเรื่องการทดลองวัคซีนป้องกันโควดิ -19 ก็ทำให้มั่นใจว่าในอนาคตหากมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นอีก ประเทศไทยกพร้อมจะปรับตัวและผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรคได้เช่นเดียวกับประเทศมหาอำนาจอื่นๆ

สำหรับราคาของวัคซีนที่หลายคนสนใจ ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า บริษัทไฟเซอร์ ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติตั้งราคาไว้ที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อเข็ม ขณะที่ราคาวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยพยายามจะยืนราคาที่ใกล้เคียงต้นทุนมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงวัคซีนได้มากที่สุด

ศักยภาพประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำด้านการวิจัยและผลิตวัคซีนของโลก

ศ.นพ.เกียรติ ในฐานะผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย มีความมมั่นใจว่าหากทีมนักวิจัยของไทยได้รับการสนับสนุนเรื่องทุนอย่างเต็มประสิทธิภาพก็จะมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนเพื่อจำหน่ายได้ทัดเทียมประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ในโลก แต่เรื่องเงินทุนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ การจะก้าวสู่การเป็นผู้นำในการพัฒนาและผลิตวัคซีน ทุกฝ่ายต้องช่วยกนั ระดมองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ช่วยกันหาพันธมิตรเพื่อเสริมศักยภาพในการผลิตให้ครบวงจร รวดเร็ว และให้มีประสิทธิภาพที่สุด

ศ.นพ.เกียรติ ยังกล่าวด้วยว่า การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 จะไม่สำเร็จได้เลยหากปราศจากการอนุเคราะห์จากหน่วยงานสำคัญหลายหน่วยงาน เช่น ความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ การสนับสนุนเงินทุน บุคลากรและอื่นๆ จากสภากาชาดไทย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การสนับสนุนในทุกด้าน โดยท่านเคยกล่าวกับศ.นพ.เกียรติ และทีมงานว่า ให้ปฏิบัติงานการพัฒนาและวิจัยวัคซีนอย่างเต็มที่ เรื่องการหาเงินทุนสนับสนุนเป็นหน้าที่ของท่าน

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวทิ้งท้ายว่า การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้ถอดบทเรียนจากวิกฤติว่า นักลงทุนไทย นักวิจัยไทย และบุคลากรทางการแพทย์ของไทยได้เรียนรู้สิ่งใดจากการระบาดครั้งนี้หรือไม่ และเมื่อเรียนรู้แล้ว สามารถนำสิ่งที่ได้มาต่อยอด และพัฒนาองค์ความรู้จนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตวัคซีนของโลกได้หรือไม่ และในสังคมที่ก้าวเข้าสู่โลกของการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า(Universal Health) เช่นนี้ หากประเทศไทยสามารถพลิกจากการเป็นเพียงผู้ซื้อเวชภัณฑ์มาเป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ ก็จะทำให้สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยมั่นคงและยั่งยืนอย่างแน่นอน