ผู้ป่วยโรคโควิด-19 กับอาการระยะยาว

ผู้ป่วยโรคโควิด-19 กับอาการระยะยาว

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 พบว่ามีการรายงานของผู้ที่หายป่วยบางรายเกิดอาการในระยะยาวขึ้น โดยกลุ่มอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะที่ผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อและมีอาการบ่งชี้ของโรคโควิด-19 ประมาณ 4 สัปดาห์
ระยะที่ 2 ระยะที่ผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องไปอีก 4-12 สัปดาห์
ระยะที่ 3 ระยะที่ผู้ป่วยยังมีอาการบ่งชี้ของโรคโควิด-19 ในช่วงระหว่างที่พบเชื้อหรือหลังจากการพบเชื้อโดยยังคงมีอาการต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 สัปดาห์

อาการที่พบในผู้ป่วยโควิด-19 ระยะยาว
อาการของผู้ป่วยโควิด-19 ระยะยาว เป็นอาการที่เกิดขึ้นนานกว่า 12 สัปดาห์ จะพบในผู้ป่วยจำนวน ใ ใน 5 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • อาการอ่อนเพลีย
  • ไอ
  • ผู้ป่วยบางส่วนพบอาการคล้าย
  • โรคโควิด-19 หลังจากผ่าน 12 สัปดาห์ไปแล้ว
  • ปวดศีรษะ
  • ในผู้ป่วยอาการรุนแรงที่รักษาช้า พบอวัยวะบางส่วนมีความเสียหายหรือถูกทำลายอย่างถาวร เช่นอาการปอดบวมหรือเนื้อปอดถูกทำลาย
  • เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังอาจส่งผลให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยที่มีอยู่เดิมเกิดอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคใต โรคที่เกี่ยวกับระบบอวัยวะอื่น ๆ และภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น

คำแนะนำจากแพทย์
โรคโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่เคยติดเชื้อในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุดจึงเป็นการป้องกันตัวเองและปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันโควิด-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

ข้อมูล ณ วันที่ 22 มีนาคม 2564
ทีมา : ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา