6 ข้อสรุปฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตันจริงหรือไม่?

6 ข้อสรุปฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตันจริงหรือไม่?
  1. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด -1 9 ทุกชนิดไม่ส่งผลต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน เช่น หลอดเลือดสมองอุดตัน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน และลิ่มเลือดอดตัน
  2. การเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมกับหลอดเลือดอุดตัน โดยเฉพาะที่สมอง มีรายงานหลังฉีดวัคซีนของ AstraZeneca หรือ Johnson and Johnson ว่ามีโอกาสเกิดภาวะดังกล่าวขึ้นอยู่ระหว่าง 1 : 100,000 ถึง 1 : 500,000 ซึ่งภาวะนี้สามารถรักษาได้จากการวินิจฉัยและยาที่มีอยู่ในประเทศ
  3. ภาวะหลอดเลือดอุดตันภายหลังติดเชื้อโรคโควิด-19 มีความน่ากังวลมากกว่าการฉีดวัคซีน เพราะการติดเชื้อโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดอุดตันสูงถึง 1 ใน 10 และมักเป็นหลอดเลือดอุดตันที่รุนแรง
  4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันแต่ผลข้างเคียงที่รุนแรงของวัคซีนแต่ละชนิด มีโอกาสเกิดน้อยกว่า 1 : 100,000 ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ต่ำกว่าภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 เช่น ปอดอักเสบรุนแรง หลอดเลือดอุดตัน หรือเสียชีวิตนับหมื่นเท่า
  5. ความกังวลหลังฉีดวัคซีน Sinovac ที่ว่าฉีดแล้วจะป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ หรือโรคอัมพาต ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดแล้วไม่พบผู้ที่เกิดหลอดเลือดสมองอุดตันจากการฉีดวัคซีน
  6. ปัจจุบันไม่พบหลักฐานว่ามีผู้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยตรงในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน Pfizer หรือ Moderna ประมาณ 1 : 60,000 ซึ่งภายหลังการสอบสวนโรคแล้ว พบว่าอาจเกิดจากโรคประจำตัวของผู้เสียชีวิตมากกว่าเกิดจากการฉีดวัคซีน

คำแนะนำจากแพทย์

ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคมะเร็ง โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้

ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2564
ที่มา : รศ. นพ.นภชาญ เอื้อประเสริฐ