โรคสุกใสในวัยรุ่นหากมองข้ามอาจเกิดอาการรุนแรง

โรคสุกใสในวัยรุ่นหากมองข้ามอาจเกิดอาการรุนแรง

โรคสุกใส เป็นโรคที่มีโอกาสเป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยมากมักเกิดในเด็ก ซึ่งอาการมักไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับวัยรุ่นหรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ปัจจุบันโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

การติดต่อ

  • ทางการหายใจผ่านทางฝอยละอองขนาดเล็กจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย
  • สัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำบนผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ คือ ประมาณ 1-2 วันก่อนผื่นขึ้นจนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดหมด

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในวัยรุ่นเมื่อเป็นโรคสุกใส

  • ติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง
  • ปอดอักเสบ
  • ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด
  • สมองอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนทางสมองอื่น ๆ

เมื่อหายจากโรคสุกใสแล้วเชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาท อาจทำให้เกิดโรคงสวัดได้เมื่อภูมิต้านทานของร่างกายลดลง

ผู้ปกครองควรให้บุตรหลานฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกใส เพื่อป้องกันความรุนแรงจากการติดเชื้อ

ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2565
ที่มา : ผศ. ดร. พญ.สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์
ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์