โรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับมีพังผืดและตับแข็งต่างกันอย่างไร?

โรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับมีพังผืดและตับแข็งต่างกันอย่างไร?

🗣โรคตับอักเสบเรื้อรัง
คือ ตับที่มีการอักสบ โดยดูได้จากผลเลือดค่าการทำงานของตับ SGOT SGPT ค่าปกติส่วนใหญ่มักจะไม่กิน 40 หน่วย ถ้าได้ค่าสูงกว่านี้ ถือว่ามีภาวะตับอักเสบ และ พบค่าตับอักเสบนี้นานเกิน 6 เดือน
🗣ตับมีพังผืด
คือ ตับที่มีการอักสบมาก และป็นการอักเสบเรอรัง คือ มีการตรวจซ้ำแล้วค่าการทำงานของตับสูงผิดปกติ เป็นระยะเวลานานเกิน 6 เดือน และเมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จนเกิดเป็นภาวะที่เรียกว่า พังผืด หรือ Liver Fibrosis โดยทั่วไปแบ่งย่อยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1-2 เป็นพังผืดตับระยะต้น ส่วนระยะ 3-4 เป็นพังผืดระยะรุนแรง
🗣ตับแข็ง
คือ ตับที่มีการอักเสบและมีพังผืด ระยะ 4 ต่อเนื่องเป็นเวลานานจนกระจายตัวกันไปทั่วเนื้อตับ ทำให้กลายป็นตับแข็ง นั่นคือสภาพเนื้อตับเริ่มทำงานได้ไม่ดีแล้ว และมักมีอาการแสดงออกมาให้เห็น เช่น ท้องมาน ขาบวม ตัวและตาเหลือง เป็นต้น
🗣วิธีการตรวจตับอักสบ ตับอักสบเรื้อรัง หรือ พังผืดตับ
ทำได้ด้วยการตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับ SGOT SGPT แต่การตรวจพังผืดตับ สามารถตรวจด้วยเครื่องมือพิศษ ช่น การตรวจอัลตราซาวด์ตับ การตรวจหาพังผืดตับ (Fibroscan) หรือการเจาะเนื้อตับ ถือเป็นวิธีมาตรฐาน แต่ข้อจำกัดคือทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย

ข้อมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2563
ที่มา : ศ. ดร. นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข