โรคกลัวการรักษาทางทันตกรรม

โรคกลัวการรักษาทางทันตกรรม

โรคกลัวการรักษาทางทันตกรรม (Dental Phobia) คือ อาการหรือความวิตกกังวลเมื่อต้องทำฟันทำให้เกิดความรู้สึกกังวลใจ ไม่กล้าไปทำฟัน หรือกลัวเมื่อเข้ารับการรักษากับทันตแพทย์ ผู้ที่มีอาการเหล่านี้จึงมักหลีกเลี่ยงการทำฟันโดยสิ้นเชิง และเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในช่องปาก

สาเหตุ

  1. ประสบการณ์และความเจ็บปวดจากการทำฟันในอดีต เช่น การฉีดยาชาการถอนฟัน และกรอฟัน เป็นต้น
  2. บรรยากาศภายในห้องทันตกรรม เช่น กลิ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ เสียงเจียฟัน เครื่องมือทางทันตกรรม รวมถึงชุดที่ทันตแพทย์สวมใส่ขณะทำฟัน ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล

การรักษา

  1. หากสามารถรับมือกับความกลัวได้ ควรพูดคุยกับทันตแพทย์เพื่อรับคำอธิบายถึงวิธีและขั้นตอนการรักษาที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
  2. ในบางสถานพยาบาลอาจมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลผู้ที่วิตกกังวลในการทำฟัน โดยจะมีการให้คำแนะนำเบื้องต้น และใช้ยาชาเฉพาะที่
  3. บางกรณีอาจใช้ยาคลายกังวลหรือยาอื่น ๆ ช่วย ตามดุลยพินิจของทันตแพทย์
  4. หากรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลมากควรปรึกษาจิตแพทย์

คำแนะนำจากทันตแพทย์


การใช้ยาคลายกังวลหรือยาอื่น ๆ อาจมีผลข้างเคียง และหากใช้บ่อยจะไม่ส่งผลดีต่อร่างกายในระยะยาว ดังนั้นแนะนำการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการทำฟันที่ถูกต้อง จะให้ผลลัพธ์ที่ดีและยั่งยืนต่อสุขภาพช่องปาก

ข้อมูล ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2564
ที่มา : ทพญ.ฑิชา ทองระกาศ