โควิด-19 จากแม่สู่ทารก ของการตั้งครรภ์ช่วงสุดท้าย

โควิด-19 จากแม่สู่ทารก ของการตั้งครรภ์ช่วงสุดท้าย

รายงานในวารสาร Nature communications (extracted จาก DG alert) จากประเทศฝรั่งเศส ของมารดาอายุ 23 ปี ที่มีการติดเชื้อโรคโควิด-19 ร่วมกับอาการไข้ ไอ และมีเสมหะ พบว่า

  • 2 สัปดาห์ก่อนที่จะเข้าโรงพยาบาล ตรวจพบไวรัสทั้งในเลือด ในจมูกและจากในช่องคลอด
  • 3 วันหลังจากเข้าโรงพยาบาล มีความจำเป็นต้องผ่าคลอดเด็กพบไวรัสในน้ำคร่ำ เลือด และน้ำลงปอด รวมทั้งในจมูกของเด็กและจำนวนของไวรัสในจมูกเด็กมีปริมาณเพิ่มขึ้น เมื่อทำการตรวจซ้ำในวันที่ 3 และ 18
  • หลังคลอดวันที่ 3 เด็กมีอาการผิดปกติ ไม่รับนม มีอาการเกร็งลำตัว หลังแอ่นและตรวจพบเซลล์อักเสบในน้ำไขสันหลัง
  • วันที่ 11 การทำคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าพบว่ามีความผิดปกติของสมองส่วนสีขาวที่อยู่รายล้อมรอบโพรงน้ำในสมอง และส่วนใต้เปลือกสมอง
  • อย่างไรก็ตามเด็กค่อย ๆ ดีขึ้น เมื่ออายุครบ 2 เดือน ความผิดปกติในเนื้อสมองลดลงบ้าง

ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากผู้เขียน

  1. ลักษณะดังกล่าวพบใน “ไวรัสซิก้า” ที่เข้าสมองเด็กทำให้สมองลีบไวรัสจากเลือดแม่ผ่านเข้ามาทางรก แม้ว่าผนังทางด้านนอกของรกจะมีกลไกป้องกันแต่ไวรัสสามารถทะลวงการป้องกันชั้นนอกเข้ามาถึงชั้นในจนเข้าสู่กระแสเลือดของเด็ก และผ่านเข้าผนังกั้นระหว่างหลอดลือดกั้นสมองจนเข้าไปติดเชื้อในสมองเด็ก
  2. จากรายงานในวารสาร Nature Medicine โดยทดลองในลิงท้องพบว่า “ทารกมีความผิดปกติในสมองในส่วนสีขาวเช่นกันและพบไวรัสในสมองและในตำแหน่งต่าง ๆ”
  3. ทั้งนี้การวิจัยโดยการสร้างอวัยวะจากเซลล์ต้นกำเนิด และนำมาติดเชื้อไวรัส พบว่า ซิก้าไวรัส รบกวนเซลล์ต้นกำเนิดของสมองและมีการกระตุ้น TLR3 รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ที่ทำให้เกิดความไม่ปกติในการพัฒนาสมอง และเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของสมอง

ข้อมูล ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2563

ที่มา : ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา